วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การแบ่งคำนามตามลักษณะการใช้

การแบ่งคำนามตามลักษณะการใช้ สามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มคือ

1. นามทั่วไป หรือ Common Noun
คิอคำที่ใช้เรียกสิ่งต่างๆทั่วไป ทั้งคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ เช่น man (ผู้ชาย), School (โรงเรียน)
2. นามเฉพาะ หรือ Proper Noun
คือคำนามเฉพะ เป็นชื่อเฉพาะ เช่น Somchai (สมชาย), Puket (ภูเก็ต)

3. นามวัตถุ  หรือ  Material Noun
คือคำนามที่เป็นชื่อวัตถุ แร่ธาตุ โลหะ สามารถแยกออกเป็น
-  แร่ธาตุ  เช่น  เหล็ก (Iron), เงิน (Silver), ทองแดง (Copper), ยูเรเนียม (Uranium)
-  สารธรรมชาติ ที่เป็นเนื้อเดียวกัน เช่น  ฝ้าย (Cotton), ทราย (Sand), โลหะ (Metal), ไนลอน (Nylon), ผ้า (Cloth), กระดาษ (Paper)
-  ของเหลวประเภทต่างๆ  เช่น  น้ำ (Water), หมึก (Ink), น้ำค้าง (Dew), ชา (Tea)
-  พืชและอาหาร  เช่น  น้ำตาลทราย (Sugar), ข้าว (Rice), แกง (Curry), เนื้อปลา (Fish)

4.  นามแสดงกลุ่ม Collective Noun
คือนามที่แสดงหมวดหมู่ กลุ่ม ฝูง ซึ่งอาจจะเป็นคน สัตว์ หรือสิ่งของก็ได้  เช่น
กลุ่มนักศึกษา - a group of students
ฝูงคน - a crowd of people
ฝูงปลา - a school of fish
ฝูงแกะ - a flock of sheep

5. นามไม่มีรูปร่าง หรืออาการนาม  Abstract Noun
คือคำนามที่เป็นชื่อของอาการ หรือสภาวะ ส่วนใหญ่จะขึ้นต้นว่า ความ หรือ การ เช่น
-  มาจาก กริยา (Verb) เช่น
Speak  - Speech การพูด
Imagine - Imagination การนึกฝัน

-  มาจากคำคุณศัพท์ (Adjective)
Happy  -  Happines ความสุข
True  -  Truth  ความจริง

-  มาจากคำนาม  (Noun)
Child  -  Childhood  วัยเด็ก
Slave  -  Slavery  ความเป็นทาส

...........................................

ตัวอย่าง โจทย์ปัญหา (เรื่องสัดส่วน) ข้อ 5

5.  แผนที่ประเทศไทยระบุมาตราส่วนที่ใช้เขียนแผนที่เป็น  1  :  2,500,000 ถ้าวัดระยะระหว่างกรุงเทพฯ กับเชียงใหม่ ได้ประมาณ 27.8 เซนติเมตร จงหาว่าเชียงใหม่อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณกี่กิโลเมตร

จากโจทย์กำหนดว่า มาตราส่วนที่ใช้เขียนแผนที่เป็น 1  :  2,500,000
วัดระยะระหว่างกรุงเทพฯ กับเชียงใหม่ ได้ประมาณ 27.8 เซนติเมตร
สมมติให้เชียงใหม่อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ  x  กิโลเมตร
จะได้ว่า

1 : 2,500,000  =  27.8 : x
1 / 2,500,000  =  27.8 / x
1 * x  =  27.8 * 2,500,000
x  = 69,500,000

1 เซนติเมตร  =  0.00001  กิโลเมตร
ถ้า  69,500,000 เซนติเมตร  =  69,500,000  x  0.00001  กิโลเมตร
เพราะฉะนั้น  =  695  กิโลเมตร
เพราะฉะนั้น เชียงใหม่อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ  695  กิโลเมตร
........................................

ตัวอย่าง โจทย์ปัญหา (เรื่องสัดส่วน) ข้อ 4

4.  มาตราส่วนที่ใช้เขียนแผนที่แผ่นหนึ่งเป็น 1 ซม. : 250 กม. ถ้าระยะระหว่างเมืองสองเมือง
ในแผนที่เป็น 3.6 เซนติเมตร จงหาระยะระหว่างเมืองทั้งสอง

จากโจทย์กำหนดให้  มาตราส่วนในการเขียนแผนที่เป็น 1  ซม.  :  250  กม.  นั่นคือ อัตราส่วน  1  :  250
ระยะระหว่างเมืองสองเมืองในแผนที่เป็น  3.6  เซนติเมตร
สมมติให้ระยะระหว่างเมืองทั้งสองเป็น x กม.
จะได้ว่า

1  :  250    =    3.6  :  x
1 / 250  =  3.6 / x
 1 * x  =  3.6 * 250
x  =  (3.6 * 250) / 1
x  =  900
เพราะฉะนั้น  ระยะระหว่างเมืองทั้งสองเป็น  900  กิโลเมตร

........................................

ตัวอย่าง โจทย์ปัญหา (เรื่องสัดส่วน) ข้อ 3

3. ร้านค้าขายส่งต้องการขายสิน้าให้ได้จำนวนมาก  จึงประกาศแถมสินค้าให้แก่ลูกค้า
ในอัตราซื้อ 7 แถม 2 ถ้าติ๊กต้องการสินค้าทั้งหมด 711 ชิ้น ติ๊กต้องซื้อสินค้าจำนวนกี่ชิ้น และจะได้รับของแถมกี่ชิ้น

จากโจทย์ กำหนดให้ การแถมสินค้าอยู่ที่อัตรา ซื้อ 7 แถม 2 นั่นคือ  7  :  2
ติ๊กซื้อสินค้า 711 ชิ้น
สมมติให้ติ๊กได้รับของแถม  x ชิ้น
จะได้ว่า

7  :  2    =   711  :  x
7 / 2  =  711 / x
7 * x  =  711 * 2
x  =  (711 x 2) / 7
x  =  1422 / 7
x  =  23.1
เพราะฉะนั้น ติ๊กจะได้รับของแถมจำนวน 24 ชิ้น

...........................................

ตัวอย่าง โจทย์ปัญหา (เรื่องสัดส่วน) ข้อ 2

2.  แบ่งเส้นลวดเส้นหนึ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยใช้อัตราส่วน 3 : 8  ถ้าลวดเส้นสั้นยาว 9 เซนติเมตร แล้วลวดเส้นเดิมยาวกี่เซนติเมตร

จากโจทย์ กำหนด ให้อัตราส่วน ลวดเส้นสั้น : ลวดเส้นยาวเป็น  3 :8
ลวดเส้นสั้นยาว 9 เซนติเมตร
สมมติให้ลวดเส้นยาว = x
จะได้ว่า

3 : 8   =    9  :  x
3 / 8  =  9 / x
x  =  (9 x 8) / 3
x  =  72 / 3
x = 24
เพราะฉะนั้น ลวดเส้นยาว มีขนาด 24 เซนติเมตร

............................

ตัวอย่าง โจทย์ปัญหา (เรื่องสัดส่วน) ข้อ 1

1.  มุม ABC มีขนาด 75 องศา ถ้าแบ่งมุม ABC ออกเป็นสองส่วน โดยให้ขนาดของมุมเป็น
อัตราส่วน 2 : 3 แต่ละมุมจะมีขนาดกี่องศา
สมมติให้อีกมุมหนึ่งมีขนาด x องศา
จากโจทย์กำหนดว่า ขนาดของมุมเป็นอัตราส่วน 2 : 3
เราจะได้ว่า
2 : 3  =   x : 75
2 / 3  =   x  /  75
( 2 x 75) / 3  =  x
150 / 3  =  x
50  =  x
เพราะฉะนั้น อีกมุมหนึ่งมีขนาด 50 องศา

........................................

การแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้สัดส่วน

การแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้สัดส่วน

เราสามารถนำหลักการเรื่อง สัดส่วนมาใช้ในการแก้โจทย์ปัญหาได้ ดังตัวอย่างเช่น
ป้าทิพย์ชงกาแฟ 5 ถ้วย โดยใช้อัตราส่วน ของกาแฟบด 3 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 5 ถ้วย ถ้าป้าทิพย์ต้องการเลี้ยงกาแฟผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 30 คน คนละ 1 ถ้วย ป้าทิพย์จะต้องใช้กาแฟบดกี่ช้อนโต๊ะ

จากโจทย์ข้างต้นนะครับ เราทราบว่า
อัตราส่วนของกาแฟบด (เป็นช้อนโต๊ะ) ต่อน้ำ (เป็นถ้วย) เท่ากับ 3 : 5
และต้องการหาปริมาณของกาแฟบด (เป็นช้อนโต๊ะ) ที่ใช้กับน้ำ 30 ถ้วย
ซึ่งเราไม่ทราบว่า ต้องใช้กาแฟบดเป็นปริมาณเท่าใด ผมจึงสมมุติเป็น x ช้อนโต๊ะ นะครับ

เราจะได้สมการว่า  x : 30  = 3 : 5
x / 30  =  3  /  5
x * 5  =  3  *  30
x =  (3  *  30) / 5
x = 90 / 5
x = 18
เพราะฉะนั้น ป้าทิพย์ต้องใช้กาแฟบด 18 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 30 ถ้วยครับ
.......................................... 

วิธีการคิดนะครับ  เราต้องหาการเปรียบเทียบอัตราส่วนของอัตราส่วน 2 อัตราส่วนจากที่โจทย์กำหนดมาก่อน แล้วจำนวนใดที่เราต้องการหาคำตอบ ให้สมมติค่านั้นเป็นตัวแปรไม่ทราบค่าก่อน แล้วจึงดำเนินการหาคำตอบต่อไปครับ

.......................................... 

สัดส่วน

สัดส่วน
บทที่แล้วเราเรียนเรื่อง อัตราส่วนที่เท่ากันแล้วนะครับ ในบทนี้ เราจะมาต่อกันเรื่อง อัตราส่ว่นที่เท่ากันสองอัตราส่วน ประโยคที่แสดงการเท่ากันของอัตราส่วนสองอัตราส่วน เราเรียกว่า สัดส่วน ครับ

การหาสัดส่วน
1. โดยใช้หลักการคูณ หรือ การหาร
ตัวอย่างเช่น  จงหาค่าของ c ต่อไปนี้
(4 / 7)  =  (c / 35)
(4 x 5) / (7 x 5)  =  c / 35  ... ทำส่วนให้เท่ากัน
(20 / 35) =    (c / 35)
เพราะฉะนั้น C = 20

ตัวอย่างเช่น  จงหาค่าของ a ต่อไปนี้
(18 / 42)  =  (3 / a)
(18 / 6) / (42 / 6) =  (3 / a )
(3 / 7)  =  (3 / a )
เพราะฉะนั้น a = 7

..............................
2.  โดยวิธีคูณไขว้
ตัวอย่างเช่น จงหาค่าของ a ดังต่อไปนี้
(a / 22.5)  =  (2 / 3)
จากสัดส่วนจะได้ผลคูณไขว้เท่ากัน
a x 3  =  22.5 x 2
a  =  (22.5 x 2) / 3
a  =  15
ดังนั้น ค่า a เป็น 15

..............................

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การตรวจสอบการเท่ากัน

การตรวจสอบการเท่ากันของอัตราส่วนโดยใช้วิธีคูณไขว้

เราสามารถตรวจสอบว่า อัตราส่วนทั้งสองนี้เท่ากันหรือไม่ ดังนี้ครับ

1. ถ้า a x d = b x c แล้ว (a / b) = (c / d)
2. ถ้า a x d ไม่เท่ากับ b x c แล้ว (a / b) ไม่เท่ากับ (c / d)

เช่น จงพิจารณาว่า (20/12) กับ (45/27) เท่ากันหรือไม่
วิธีทำ
(20 x 27) =  540
(12 x 45) = 540
ถ้าผลคูณของการคูณไขว้ได้คำตอบเท่ากัน แสดงว่า
เพราะฉะนั้น (20/12) = (45/27)
   
..........................................

อัตราส่วนที่เท่ากัน

อัตราส่วนที่เท่ากัน

การทำเป็น อัตราส่วนที่เท่ากัน สามารถทำได้ 2 วิธีครับ
1.โดยวิธีการคูณ
หลักการคูณ นำจำนวนใดก็ได้มาคูณทั้งเศษ และส่วน โดยที่เมื่อคูณแล้วจำนวนนั้นต้องไม่เป็นศูนย์ เราจะได้อัตราส่วนใหม่ที่เท่ากับอัตราส่วนเดิม เช่น

4/5 = (4 x 2) / (5 x 2) = 8/10
4/5 = (4 x 3) / (5 x 3) = 12/15
4/5 = (4 x 4) / (5 x 4) = 16/20
4/5 = (4 x 5) / (5 x 5) = 20/25

เพราะฉะนั้น 4/5 = 8/10 = 12/15 = 16/20 = 20/25

2. โดยวิธีการหาร
หลักการหาร นำจำนวนใดก็ได้มาหารทั้งเศษ และส่วน โดยที่เมื่อหารแล้วจำนวนนั้นต้องไม่เป็นศูนย์ เราจะได้อัตราส่วนใหม่ที่เท่ากับอัตราส่วนเดิม เช่น

80/10 = (80 / 2) / (10 / 2) = 40/5
80/10 = (80 / 5) / (10 / 5) = 8/2
80/10 = (80 / 10) / (10 / 10) = 8

เพราะฉะนั้น 80/10 = 40/5 = 8/2 = 8/1 หรือ 8

....................................

อัตราส่วนและร้อยละ

1.อัตราส่วน

อัตราส่วน คือ ความสัมพันธ์ที่แสดงการเปรียบเทียบ ของปริมาณสองปริมาณ ซึ่งอาจมีหน่วยเดียวกัน หรือหน่วยต่างกันก็ได้ เช่น

1. อัตรา ครู 1 คน ต่อนักเรียน 20 คน
2. ไข่ไก่ 10 ฟอง ราคา 38 บาท
3. ค่ารถโดยสารประจำทางตลอดสายคนละ 18 บาท
4. รถยนต์วิ่งด้วยอัตราเร็ว 80 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง
5. อัตราแลกเปลี่ยนเงิน 42.70 บาท ตอ 1 ยูโร
6. การผสมปุ๋ยอินทรีย์สุตรหนึ่ง ใช้หญ้าสด 50 กิโลกรัมต่อมูลไก่ 5 กิโลกรัม
7. นมสด 12 กระป๋อง ราคา 93 บาท

ที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น ก็คือ ความสัมพันธ์ที่แสดงการเปรียบเทียบ ของปริมาณ 2 ปริมาณ ที่หน่วยต่างกัน ซึ่งเราเรียกกันว่า อัตราส่วน ครับ

หากจากตัวอย่างข้างต้น เราสามารถเขียนอัตราส่วนแสดงความสัมพันธ์ได้ดังนี้

อัตราส่วนปริมาณ a ต่อปริมาณ b เขียนแทนด้วย -  a : b หรือ a / b

1. อัตราส่วนของจำนวนครูต่อจำนวนนักเรียน เป็น 1 : 20
2. อัตราส่วนของจำนวนไข่ไก่ (เป็นฟอง) ต่อราคา (เป็นบาท) เป็น 10 : 38
3. อัตราส่วนของจำนวนผู้โดยสาร (เป็นคน) ต่อราคา (เป็นบาท) เป็น 1 : 8
4. อัตราส่วนของระยะทาง (เป็นกิโลเมตร) ต่อเวลา (เป็นชั่วโมง) เป็น 80 : 1
5. อัตราส่วนของจำนวนเงิน (เป็นบาท) ต่อจำนวนเงิน (เป็นยูโร) เป็น 42.70 : 1
6. อัตราส่วนของน้ำหนักหญ้าสดต่อน้ำหนักมูลไก่ เป็น 50 : 5
7. อัตราส่วนของจำนวนนมสด (เป็นกระป๋อง) ต่อราคา (เป็นบาท) เป็น 12 : 93

.................................................

คำนาม Noun

Noun คำนาม

คำนาม คือ คำที่ใช้เรียก ชื่อ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ เป็นชื่อที่เราใช้เรียกสิ่งต่างๆนั่นเองครับ
เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ประเทศไทย นายสมชาย เป็นต้น


หรือแม้กระทั่ง สิ่งที่เรามองไม่เห็น เช่น อากาศ วันเดือนปี ชั้นบรรยากาศ ก็ถือว่าเป็นคำนามครับ


ชนิดของคำนาม โดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้หลายประเภท ตามลักษณะการแบ่ง

1.การแบ่งคำนามตามชนิด
แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
1.คำนามที่นับได้
2.คำนามที่นับไม่ได้


เรามาพูดถึง คำนามที่นับได้ กันก่อนนะครับ

คำนามนับได้ Countable Noun
คือคำนามที่สามารถ นับแยกเป็น หนึ่ง สอง สาม เป็นชิ้น เป็น อัน เป็น ตัว ได้ เช่น
คน หนึ่ง คน (one man)
ปากกา สิบ ด้าม (ten pens)
นกสามตัว (Three birds)

แม้กระทั่ง สิ่งที่ไม่มีตัวตน เช่น หนึ่งวัน (one day), สองเดือน (two months), สาม ปี (three years)

จะเห็นได้ว่า คำนามที่นับได้ เราสามารถแยกออกมานับได้ สิ่งไหนมีมากกว่าหนึ่ง จึงสามารถทำให้อยู่ในรูปพหูพจน์ได้ และใช้ตัวเลขมาประกอบการนับได้ครับ

ดังนั้น
คำนามที่นับไม่ได้ Uncountable Noun จึงหมายถึง คำนามที่แยกแยะเป็นชิ้น เป็นอันไม่ได้
ต้องอยู่รวมกันเป็นหมู่ เป็นกลุ่ม เป็นก้อน หรือเป็นกระจุก และบอกไม่ได้ว่ามี หนึ่ง สอง หรือ สาม แต่บอกได้เพียง มีมาก หรือ มีน้อย เท่านั้น

เช่น ในแก้วนี้ มีน้ำ มาก หรือ มีน้ำ น้อย
ไม่สามารถบอกได้ว่า มีน้ำ 1 ชิ้น 2 ชิ้น เป็นต้น

หรือ ข้าว ไม่สามารถนับได้ว่าในจานนี้มีเมล็ดข้าวกี่เมล็ด
บอกได้แค่ มีมาก หรือน้อย

ซึ่งบางครั้งอาจจะนับ คำนามนับไม่ได้ บางประเภท ด้วยภาชนะที่บรรจุ หรือ หน่วยการวัด แทน
ซึ่งผมจะเอามาสรุปไว้ในบทถัดไปครับ

ดังนั้น สรุปได้ว่า นามนับไม่ได้ หมายถึง
1. นามนับไม่ได้ที่ไม่มีตัวตน ไม่มีรูปร่าง เช่น ความสุข (happiness) หรือ ความทุกข์ (suffering)
2. นามนับไม่ได้ที่มีตัวตนหรือมีรูปร่าง แต่นับไม่ได้ เช่น น้ำ (water) หรือ น้ำมัน (นรส)
3. นามนับไม่ได้ที่มีตัวตนหรือมีรูปร่างแต่แยกออกมานับไม่ได้ ต้องมีภาชนะมาบรรจุ เช่น ข้าว (rice), น้ำตาล (sugar) เป็นต้น

ตัวอย่างของนามที่นับไม่ได้ ที่เรามักจะพลาดกันครับ

  1. น้ำ (water)
  2. อาการ (air)
  3. น้ำมัน (oil)
  4. กาแฟ (coffee)
  5. ชอล์ก (chalk)
  6. เนื้อ (meat)
  7. โคลน (mud)
  8. เนื้อวัว (beef)
  9. น้ำตาลทราย (sugar)
  10. เกลือ (salt)
  11. เลือด (blood)
  12. ทราย (sand)
  13. สบู่ (soap)
  14. ขนมปัง (bread)
  15. แป้ง (flour)
  16. นม (milk)
  17. ชา (tea)
  18. ถ่าน (coal)
  19. หมึก (ink)
  20. เหล็ก (iron)
  21. เงิน (silver) 
  22. ทองแดง (copper)
  23. หิน (stone)
  24. ดิน (earth)
  25. ฝ้าย (cotton)
  26. เนื้อไม้ (wood)
  27. ทองคำ (gold)
  28. อิฐ (brick)
  29. ซีเมนต์ (cement)
  30. สวด (wire)
  31. ผ้า (cloth)
  32. ขนสัตว์ (wool)
  33. ไม้ท่อน (timber)
  34. กระดาษ (paper)
  35. เหล้า (liquor)
  36. เบียร์ (beer)
  37. น้ำแข็ง (ice)
  38. เนยแข็ง (cheese)
  39. เงิน (money) แต่ ค่าเงิน เช่น บาท(baht) หรือ ดอลล่าร์ (dollar) นับได้นะครับ
  40. ผลไม้ (fruit) แต่ ชนิดของผลไม้ เช่น มะม่วง (mango) หรือ แอ็ปเปิล (apple) นับได้นะครับ
  41. เนย (butter)
  42. ข้าวสาลี (wheat)
..................................................