วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้สัดส่วน

สรุปวิธีการคิดดังนี้

1. สมมุติตัวแปรที่ต้องการหา เป็น x
2. เขียนสัดส่วนแสดงการเท่ากันของอัตราส่วนที่โจทย์กำหนดให้ และอัตราส่วนใหม่ โดยให้สิ่งที่เปรียบเทียบเป็นอัตราส่วนลำดับเดียวกัน
3. หาค่าตัวแปร

ยกตัวอย่างเช่น

หัวใจของนักเรียนคนหนึ่งเต้น 6 ครั้งในทุกๆ 5 วินาที อยากทราบว่า หัวใจนักเรียนคนนี้ เต้นกี่ครั้งใน 1 นาที

วิธีทำ

ให้ x แทนจำนวนครั้งของการเต้นของหัวใจในเวลา 60 วินาที (1 นาที)
อัตราส่วนของจำนวนครั้งที่หัวใจเต้น ต่อ เวลาเป็นวินาที คือ  6  :  5
อัตราส่วนใหม่ คือ  x  :  60

เขียนสัดส่วนได้ดังนี้  6 / 5  =  x / 60

จะได้  6 * 60  =  x * 5
360  =  5x
360 / 5  =  x
ดังนั้น  72  =  x

นั่นคือ หัวใจของนักเรียนคนนี้เต้น 72 ครั้ง ในเวลา 1 นาที

...........................................................

โจทย์การหาค่าในสัดส่วน

1. จงหาค่าของ y ในสัดส่วน y / 9  =  8 / 12

วิธีทำ เนื่องจาก 8 / 12   =  ( 8 * (9/12)) / (12 * (9/12))  =  2 / 9
จะได้ y / 9  =  2 / 9
ดังนั้น ค่าของ y  เป็น  2

...........................................................................

2. จงหาค่าของ m ในสัดส่วน m / 15  =  3.2 / 5

วิธีทำ เนื่องจาก 3.2 / 5   =  (3.2 * 3) / (5 * 3)  =  9.6 / 15
จะได้  m / 15   =  9.6 / 15
ดังนั้น ค่าของ m  เป็น  9.6

...........................................................................

3. จงหาค่าของ p ในสัดส่วน (5/2) / 5 = p / 12

วิธีทำ เนื่องจาก  (5/2) / 5  =  [(5/2) * (12/5)] / [5 * (12/5)] = 6 / 12
จะได้  6 / 12   =  p / 12
ดังนั้น ค่าของ p  เป็น  6

...........................................................................
4. จงหาค่าของ m ในสัดส่วน 5 / m  =  35 / 49

วิธีทำ เนื่องจาก  35 / 49  =  (35 / 7) / (49 / 7) = 5 / 7
จะได้  5 / m  =  5 / 7
ดังนั้น ค่าของ m  เป็น  7

...........................................................................

5. จงหาค่าของ b ในสัดส่วน 3 / 9  =  1 / b

วิธีทำ เนื่องจาก  3 / 9  =  (3 / 3) / (9 / 3)  =  1 / 3
จะได้ 1 / 3  =  1 / b
ดังนั้น ค่าของ b  เป็น  3

...........................................................................

6. จงหาค่าของ x ในสัดส่วน 6 / 5  =  (2 / 15) / x

วิธีทำ เนื่องจาก 6 / 5  =  [6 * (2/15) / 6] / [5 * (2/15) / 6]  =  (2 / 15) / (1 / 9)
จะได้ (2 / 15) / (1 / 9)  =  (2 / 15) / x
ดังนั้น ค่าของ x   เป็น  1 / 9

...........................................................................

สัดส่วน (อัตราส่วนและร้อยละ)

จากบทที่ผ่านมา เราเรียนเรื่อง อัตราส่วน 2 อัตราส่วนที่เท่ากัน เช่น

4 : 5  =  8  :  10
7 / 9  =  14 / 18
2 / 6  =  4 / 12

แต่ละประโยคข้างต้น แสดงการเท่ากันของอัตราส่วน 2 อัตราส่วน

ประโยคที่แสดงการเท่ากันของอัตราส่วน 2 อัตราส่วน เราเรียกว่า  สัดส่วน

เมื่อมีจำนวนที่ไม่ทราบค่า ซึ่งแทนด้วยตัวแปรในสัดส่วน เราสามารถหาจำนวนที่แทนตัวแปรดังกล่วได้ วิธีแรกคือการหาอัตราส่วนที่เท่ากันโดยใช้หลักการคูณ หรือหลักการหาร

ตัวอย่างเช่น

จงหาค่าของ x ในสัดส่วน x / 20  =  4 / 5
วิธีทำ เนื่องจาก 4 / 5   =  (4 * 4) / (5 * 4)  =  16 / 20
จะได้ x / 20  =  16 / 20
ดังนั้น ค่าของ x  เป็น  16

...........................................................................

โจทย์ อัตราส่วน

(2) ถ้าต้องการพิมเสน 1(1/2) กิโลกรัม จะต้องใช้ส่วนผสมอย่างละกี่กรัม

วิธีทำ  จากโจทย์ใช้พิมเสน 1(1/2) กิโลกรัม = 1500 กรัม
อัตราส่วนเมนทอลต่อพิมเสนต่อการบูร เท่ากับ  4  :  1  :  1
อัตราส่วนเมนทอลต่อพิมเสนเท่ากับ  4  :  1

ถ้าใช้พิมเสน 1500 กรัม สมมุติให้ใช้เมนทอล x กรัม
จะได้สมการดังนี้

4 / 1  =   x  /  1500
4 *1500 =  x *  1
6000  =  x

อัตราส่วนพิมเสนต่อการบูรเท่ากับ  1  :  1
ถ้าใช้พิมเสน 1500 กรัม สมมุติให้ใช้การบูร y  กรัม
จะได้สมการดังนี้

1 / 1  =   1500  /  y
1 * y =  1500  *  1
y  =  1500

เพราะฉะนั้น ถ้าใช้พิมเสน 1500 กรัม จะต้องใช้เมนทอล 6000 กรัม และการบูร 1500 กรัม

.......................................................................

โจทย์ปัญหา อัตราส่วนและร้อยละ

1. พิมเสนน้ำตำรับคุณยายยุพิน ใช้ทาแก้ปวดเมื่อย แมลงกัดต่อย แกลมวิงเวียน พิมเสนน้ำประกอบด้วย เมนทอล พิมเสน และการบูร ในอัตราส่วนโดยน้ำหนัก เป็น 4 : 1 : 1 ตามลำดับ จงหาว่า

(1) ถ้าใช้เมนทอล 200 กรัม จะต้องใช้พิมเสนและการบูรอย่างละกี่กรัม

วิธีทำ  อัตราส่วนเมนทอลต่อพิมเสนต่อการบูร เท่ากับ  4  :  1  :  1
อัตราส่วนเมนทอลต่อพิมเสนเท่ากับ  4  :  1
ถ้าใช้เมนทอล 200 กรัม สมมุติให้ใช้พิมเสน x กรัม

จะได้สมการดังนี้

4 / 1  =   200  /  x
4 * x =  200  *  1
4x  =  200
นำ 4 มาหารทั้งสองข้างของสมการ
4x / 4  =  200  /  4
x  =  50

อัตราส่วนเมนทอลต่อการบูรเท่ากับ  4  :  1

ถ้าใช้เมนทอล 200 กรัม สมมุติให้ใช้การบูร y  กรัม
จะได้สมการดังนี้

4 / 1  =   200  /  y
4 * y =  200  *  1
4y  =  200
นำ 4 มาหารทั้งสองข้างของสมการ
4y / 4  =  200  /  4
y  =  50

เพราะฉะนั้น ถ้าใช้เมนทอล 200 กรัม จะต้องใช้พิมเสน 50 กรัม และการบูร 50 กรัม

.......................................................................

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน

อัตราส่วนของจำนวนหลายๆจำนวน

นอกจากเราจะเขียนการเปรียบเทียบปริมาณของจำนวน 2 จำนวน ทีละคู่แล้ว เรายังสามารถเขียนอัตราส่วนแสดงการเปรียบเทียบของจำนวนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องได้อีกด้วย
เช่น จากโจทย์

สังขยา เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งนอกจากมีรสอร่อย แล้วยังทำง่าย มีส่วนผสมไม่ยุ่งยาก มักทำเป็นสังขยาฟักทอง หรือใช้รับประทานกับข้าวเหนียวมูน สังขยามีส่วนผสมดังนี้

ไข่เป็ด  3  ฟอง
น้ำตาลมะพร้าว  3/4  ถ้วยตวง
น้ำกะทิ  1  ถ้วยตวง

จากส่วนผสมดังกล่าว สามารถเขียนอัตราส่วนของส่วนผสมต่างๆของสังขยา ได้ดังนี้

อัตราส่วนของจำนวนไข่เป็ดเป็นฟอง ต่อ ปริมาณน้ำตาลมะพร้าวเป็นถ้วยตวง เท่ากับ   3  :  3/4
อัตราส่วนของปริมาณน้ำตาลมะพร้าวเป็นถ้วยตวง ต่อ ปริมาณน้ำกะทิเป็นถ้วยตวง เท่ากับ   3/4  :  1
อัตราส่วนของจำนวนไข่เป็ดเป็นฟอง ต่อ ปริมาณน้ำตาลมะพร้าวเป็นถ้วยตวง ต่อ ปริมาณน้ำกะทิเป็นถ้วยตวง เท่ากับ   3  :  3/4  :  1

.......................................................................

วิธีการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

การประเมินหลักฐานเป็นขั้นตอนสำคัญขั้นตอนหนึ่งของวิธีการทางประวัติศาสตร์ เพราะหลักฐานทางประวัติศาสตร์มีจำนวนมาก ทั้งที่มีข้อมูลสอดคล้องและขัดแย้งกัน

วิธีการประเมินหลักฐานทางประวัติศาสตร์ มีอยู่ 2 กรณีคือ
1. การประเมินหลักฐานภายนอก - เป็นการประเมินตัวหลักฐานจากภายนอก ว่าใครเป็นผู้บันทึกหลักฐานนั้น มีสถานภาพใดในขณะนั้น บันทึกโดยจุดมุ่งหมายใด มีความเป็นกลางเพียงใด

2. การประเมินหลักฐานภายใน - เป็นการประเมินเนื้อหาของข้อมูลที่ปรากาฏในหลักฐานนั้นๆ ว่าน่าเชื่อถือ และมีอคติหรือไม่ ตรงกับข้อเท็จจริงหรือมีการบิดเบือนข้อมูลหรือไม่

...............................................

หลักฐานทางทุติยภูมิ

หลักฐานทางทุติยภูมิ - หลักฐานที่นักประวัติศาสตร์หรือนักวิจัยรวบรวบ เรียบเรียงขึ้นมาภายหลัง จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีต หลักฐานประเภทนี้มีอยู่จำนวนมาก และหลากหลาย เช่น หนังสือ ตำรา งานวิจัย รายงาน และบทความทางด้านประวัติศาสตร์ ตลอดจนข้อมูลทางประวัติศาสตร์จากเอกสารอื่นๆ เช่น หนังสือประเภทต่างๆ วารสาร วรรณคดี ฯลฯ

การที่หลักฐานประเภททุติยภูมิเรียบเรียงขึ้นหลังจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ยุติลงไปแล้ว ประกอบด้วยผู้เขียนหลักฐานนนั้นๆ มีวิธีการตีความและนำเสนอต่างกันตามวัตถุประสงค์ มุมมองและหลักฐานที่ผู้เขียนเลือกใช้ ผู้ศึกษาผลงานเหล่านี้ จึงต้องใช้วิจารณาญาณในการประเมินหลักฐานเหล่านี้ โดยพิจารณาจากคุณสมบัติและความน่าเชื่อถือของผู้เขียน ประกอบด้วยวิธีการศึกษาและการเลือกใช้หลักฐานประเภทต่างๆ

.....................................................

หลักฐานปฐมภูมิ

หลักฐานปฐมภูมิ - หลักฐานที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ต้องการศึกษา และบันทึกหรือจัดทำขึ้นโดยบุคคลที่รูเห็นหรืออยู่ร่วมในเหตุการณ์นั้นๆ หลักฐานทางปฐมภูมิเป็นได้ทั้งหลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษร และไม่เป็นลายลักษณ์อักษร

หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จารึกและเอกสารต่างๆ เช่น ศิราจารึกสมัยสุโขทัย จารึกบนใบลาน บันทึกประเภทพงศาวดาร เช่น พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพ้นจ้นทนุมาศ (เจิม) รวมถึงหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่นๆ เช่น กฏหมายตราสามดวง กฏหมายท้องถิ่น ใบบอก ปูมโหร บันทึกส่วนบุคคล บันทึกของชาวต่างประเทศ เอกสารจดหมายเหตุ สนธิสัญญาทางพระราชไมตรี เอกสารโต้ตอบต่างๆ บันทึกความทรงจำ ฯลฯ

หลักฐานไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ หลักฐานประเภทโบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุต่างๆ เช่น โบสถ์ วิหาร เจดีย์ หลุมฝังศพ พระพุทธรูป รูปปั้นบุคคลสำคัญ ประติมากรรม จิตรกรรมฝาผนัง อาวุธ เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับ ฯลฯ รวมถึงคำบอกเล่าของบุคคลผู้ร่วมอยู่ในเหตุการณ์ ซึ่งอาจได้มาจากการบันทึกเสียง หรือการบันทึกภาพเหตุการร์ต่างๆ เป็นต้น

......................................................

หลักฐานทางประวัติศาสตร์กับการศึกษาประวัติศาสตร์

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ซึ่งมีอยู่มากมาย ล้วนบ่งบอกถึงร่องรอยของมนุษย์หรือเหตุการณ์ในอดีตที่มีความต่อเนื่องถึงปัจจุบัน

นักประวัติศาสตร์ แบ่งหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ
1. หลักฐานขั้นปฐมภูมิ - หลักฐานที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เราต้องการศึกษา และบันทึกขึ้นโดยบุคคลที่รู้เห็นหรือร่วมอยู่ในเหตุการณ์นั้น เป็นได้ทั้งแบบลายลักษณ์อักษร และแบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
เช่น ศิลาจารึก พงศาวดาร ฯลฯ

2. หลักฐานขั้นทุติยภูมิ - หลักฐานที่นักประวัติศาสตร์รวบรวมขึ้นภายหลังจากหลักฐานประวัติศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในอดีต หลักฐานประเภทนี้มีอยู่จำนวนมาก เช่น ตำรา หนังสือ งานวิจัย บทความทางประวัติศาสตร์ ฯลฯ

........................................................

การประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

การศึกษาเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ จำเป็นต้องศึกษาจากข้อเท็จจริงที่มีหลักฐานยืนยันว่าถูกต้องและเชื่อถือได้ ทั้งยังมีความต่อเนื่องระหว่างอดีตกับปัจจุบัน ซึ่งผู้ศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับอดีตจึงจำเป็นต้องประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอดีตที่ถูกต้อง

...........................................................................................

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การสนทนา - พูดดี มีเสน่ห์ วิวิธภาษา ม.2

การสนทนา เป็นกิจกรรมที่คน 2 คนหรือมากกว่า พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ความรุ้สึก และประสบการณ์ระหว่างกัน ในโอกาสหรือสถานการณ์ต่างๆ เช่น การสนทนาในที่ชุมชน การสนทนาในรายการโทรทัศน์ การสนทนากับบุคคลเพิ่งรู้จักในงานสังคมต่างๆ

ในการสนทนา ควรเลือกเรื่องที่ตนเอง และคู่สนทนามีความรุ้และความสนใจร่วมกัน อาจจะเป็นเหตุการณ์ปัจจุบัน หรือเป็นเรื่องที่กำลังเป็นข่าว เรื่องที่เหมาะกับกาลเทศะ เช่น การสนทนาในงานมงคลสมรส ควรพูดถึงแต่สิ่งที่ดีงาม ไม่พูดเรื่องที่ทำให้ไม่สบายใจ ขณะรับประทานอาหาร ไม่ควรพูดเรื่องหวาดเสียว หรือเรื่องที่ชวนให้รังเกียจขยะแขยง

..............................................

การแนะนำตัวเอง - พูดดี มีเสน่ห์ วิวิธภาษา ม.2

ในบางโอกาส เราจำเป็นต้องแนะนำตัวเองว่าเราเป็นใคร และสาเหตุที่แนะนำตนเองนั้นมีจุดมุ่งหมายใด เช่น นักเรียนได้รับมอบหมายให้เป็นผู้นำชมนิทรรศการของโรงเรียน เมื่อผู้ชมงาน นักเรียนต้องพูดแนะนำตนเอง บอกชื่อ บอกชั้นเรียน และบอกหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

นักเรียนที่ไปติดต่อหน่วยงาน หรือสถานที่บางแห่ง เช่น สถานที่ฝึกงานระหว่างปิดภาคเรียน เมื่อไปถึงสถานที่นั้น ต้องแนะนำตนเองว่าชื่ออะไร เรียนอยู่ชั้นใด โรงเรียนใด และแจ้งธุระที่มาติดต่อให้ขัดเจน

ในงานเลี้ยงต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ บางครั้ง ต้องนั่งร่วมโต๊ะอาหารกับผู้อื่น อาจแนะนำตนเองด้วยการบอกชื่อ บอกความสัมพันธ์กับเจ้าของงาน แต่ควรระมัดระวังไม่ให้เป็นการอวดตน ฝ่ายคู่สนทนาก็ควรแนะนำตนเอง ไม่ควรรีรอ เพราะอาจทำให้อีกฝ่ายอึดอัด ไม่สบายใจ

การแนะนำตนเองไม่ว่าโอกาสใด ควรขึ้นต้นว่า สวัสดีครับ สวัสดีค่ะ เพื่อแสดงความสุภาพ

....................................................

การทักทายปราศรัย - พูดดี มีเสน่ห์ วิวิธภาษา ม.2

การทักทายปราศรัย เป็นมารยาทของทุกสังคม เมื่อพบคนที่รู้จักกัน ย่อมต้องทักทายปราศรัย เพื่อแสดงไมตรีที่มีต่อกัน  ในการทักท่ยปราศรัย ควรใช้ถ้อยคำที่ทำให้ผู้ฟังสบายใจ

คนแต่ละชาติ อาจทักทายด้วยถ้อยคำที่ต่างกัน เช่น คนไทยนิยมทักว่า ไปไหนมา โดยมิได้มีเจตนาแท้จริงว่าต้องการรู้คำตอบ หรืออยากรู้เรื่องส่วนตัวของผู้อื่น คนตอบจะตอบเพียงเพื่อแสดงไมตรีเท่านั้น ไม่ถือเนเรื่องจริงจังนัก

คนที่สนิทสนมกัน อาจทักด้วยเรื่องใกล้ตัว เช่น ทำการบ้านหรือยัง กินข้าวหรือยัง
การทักทายผู้ใหญ่หรือผู้ที่ไม่คุ้นเคย ต้องใช้ถ้อยคำที่สุภาพตามแบบที่นิยมกัน เช่น สวัสดีค่ะ สวัสดีครับ พร้อมน้อมไหว้แสดงความเคารพ และอาจถามตามมารยาทว่า คุณครูสบายดีหรือค่ะ ท่านสบายดีหรือครับ เป็นต้น

.......................................................

มารยาทในการพูด - พูดดี มีเสน่ห์ วิวิธภาษา ม.2

มารยาท หมายถึง กิริยาอาการที่แสดงออก ให้ปรากฏทางกายและทางวาจา อย่างถูกต้อง เรียบร้อย งดงาม ตามคตินิยมของคนในสังคม

มารยาทเป็นเครื่องหมายของความเป็นผู้ที่มีวัฒนธรรมที่ดีงาม การพูดให้ประสบความสำเร็จต้องคำนึงถึงมารยาทตามคตินิยมของสังคม

มารยาทในการพูด จะมุ่งเน้นมารยาทที่แสดงออกทางวาจาเป็นประเด็นหลัก เช่น ใช้ถ้อยคำที่สุภาพ เหมาะสมกับบุคคล กาลเทศะ

.............................................

กล้าพูด - พูดดี มีเสน่ห์ วิวิธภาษา ม.2

กล้าพูด - หมายถึง การยอมพูดในสิ่งที่ควรพูด  ไม่เกรงกลัวอิทธิพล หรืออันตราย มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าแสดงความคิดเห็นของตนเองบนพื้นฐานความรู้ ความสามารถ ทักษะ และประสบการณ์ที่ตนมีตนรู้ เพื่อประโยชน์และผลสำเร็จทั้งต่อตนเองและต่อส่วนรวม โดยคำนึงถึงกาลเทศะที่ควรพูด

เช่น ทักท้วงเมื่อเห็นผู้ทำผิดหรือทำสิ่งไม่เหมาะสม เสนอความคิดเห็นหรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนากิจการงาน กล้าพูด กล้าแสดงความจริงใจและรับผิดชอบต่อคำพูดของตน เมื่อพูดเรื่องใดไปแล้ว เกิดผลเสียหาย ต้องยอมรับว่าตนพูดไปจริง และยอมรับผิด โดยกล่าวคำขอโทษ หรือถอนคำพูด

...............................................................

พูดเก่ง - พูดดี มีเสน่ห์ วิวิธภาษา ม.2

พูดเก่ง หมายถึง การพูดที่มีกลวิในการพูด เพื่อให้น่าสนใจ น่าประทับใจ พูดแล้วเกิดผลดี ผลสำเร็จ

คนพูดเก่งมักมีวิธีการพูดที่ทำให้คนฟังสนใจ เพลิดเพลิน สนุกสนาน มีลีลาการพูดที่เป็นแบบฉบับเฉพาะตน ประกอบการแสดงสีหน้า ท่าทาง น้ำเสียงได้สอดคล้องกับเรื่องราวและอารมณ์ความรู้สึก มีสอดแทรกมุขตลก คำคม สำนวนโวหาร คำประพันธ์ที่ไพเราะ และน่าสนใจ

พูดเก่งมีลักษณะการพูดดังนี้
1. พูดได้สาระความรู้ ได้เนื้อหากระทงความ อ้างอิงข้อมูลหรือข้อเท็จจริงได้ถูกต้อง แม่นยำ เกิดประโยชน์และผลสำเร็จตามที่มุ่งหมาย

2. พูดตรงประเด็น ตรงตามหัวข้อที่พูด ปละตรงตามจุดมั่งหมายที่ตั้งใจไว้ เนื้อหาสาระไม่สับสนวกวน ลำดับความให้เข้าใจง่าย เนื้อหาที่เป็นใจความสำคัญสอดคล้องสัมพันธ์กับเนื้อหาที่เป็นใจความรอง หรือใจความที่เชื่อมโยงกัน

3. พูดคล่อง ออกเสียงได้ชัดเจน ถูกต้อง เป็นธรรมชาติ ไม่ติดขัด ใช้คำได้ถูกต้องตามความหมาย เลือกสรรถ้อยคำได้คมคาย สอดคล้อง เหมาะสมกับเรื่องราว อารมณ์และความรู้สึกร่วมของผู้ฟัง

.....................................................

โอษฐภัย - พูดดี มีเสน่ห์ วิวิธภาษา ม.2

พูดดี มักมีพื้นฐานมาจากความคิดดี คิดถูกต้อง คิดสุจริต คิดอย่างมีเหตุผล คิดถูกวิธี คิดถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวม สังคมและประเทศชาติ  มากกว่าประโยชน์ส่วนตน

การคิดดี นั้นควรคิดในทางสร้างสรรค์ มีสติกำกับ สติทำให้เกิดปัญญา ปัญญาทำให้รู้เห็นแนวทางที่ควรทำ ควรปฏิบัติ

เมื่อต้องถ่ายทอดความคิดดีโดยการพูดเพื่อสื่อสารไปให้ผู้อื่นรับรู้ หรือนำไปปฏิบัติ ก็ย่อมเป็นคำพูดที่ดีตามไปด้วย

ต้องคิดก่อนพูด คิดถึงความควรไม่ควร คิดถึงความรู้สึกของผู้ฟัง คิอถึงผลได้ผลเสียที่พึงจะได้รับ

การพูดโดยไม่คิด มักจะผิดใจกัน ทำลายสัมพันธภาพที่เคยดีต่อกัน ทำให้เสียประโยชน์ เสียหาย และอาจนำภัยมาสู่ตน สู่บุคคลที่แวดล้อมใกล้ชิด สู้สังคมและประเทศชาติ ที่เรามักเรียกกันว่า โอษฐภัย

......................................................

พูดดี

พูดดี หมายถึง การพูดที่ใช้ถ้อยคำที่สุภาพ ไพเราะ ออกเสียงได้ชัดเจน ถูกต้อง มีจังหวะหนักเบา และน้ำเสียงตามความหมายของข้อความหรือเรื่องราว เลือกใช้ถ้อยคำและคำลงท้ายได้เหมาะสมกับเรื่องราว กาลเทศะ และบุคคล

พูดคำจริง ไม่พูดเท็จ ไม่พูดบิดเบือนความจริง ไม่พดส่อเสียด หรือยุยงใส่ร้าย ไม่พูดเรื่องที่ล่วงล้ำหรือละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ซึ่งนอกจากเป็นการเสียมารยาทแล้ว ยังอาจผิดกฎหมายอีกด้วย

ไม่พูดสิ่งที่กระทบกระเทือนใจ หรือทำให้ผู้อื่นเก้ดกระดาก อับอาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางที่ชุมชน
ไม่พูดถึงสิ่งอัปมงคลในงานมงคล เป็นต้น

พูดดี หมายรวมถึง การมีมารยาทในการพูด ที่ให้ความสำคัญกบผู้ฟังหรือคุ๋สนทนา เช่น วบตา ยิ้มแย้มแสดงความเป็นมิตร เปิดโอกาสให้ผู้ฟัง หรือคู่สนทนาได้พูดหรือแสดงความคิดเห็น ใส่ใจความรู้สึก ความพึงพอใจของผู้ฟังหรือคู่สนทนา ไม่ชิงพูด ไม่พูดขัด หรือแทรกก่อนที่คู่สนทนาจะพูดจบ

พูดดี ต้องพูดในสิ่งที่สื่อความหมายให้ความเข้าใจในทางสร้างสรรค์ พูดแล้วทำให้คนพอใจ สบายใจ มีความสุข เกิดผลดี เกิดความรัก ความสามัคคี และความเจริญก้าวหน้าในหมู่คณะ สังคม ประเทศชาติ

...........................................

ความรู้เกี่ยวกับการพูด

ความรู้เกี่ยวกับการพูด

การพูด มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของคนเรา เราต้องพูดจาสื่อสารกับคนที่แวดล้อมใกล้ตัว เช่น พ่อ แม่ ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง ครู อาจารย์ คนที่ต้องพบปะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

การพูด อาจมีทั้งเรื่องที่มีสาระและไม่มีสาระ เรื่องที่พูดเล่าสู่กันฟัง เรื่องการแสดงความคิดเห็นกับสิ่งที่พบปะพบเห็น ซึ่งอาจสอดคล้องไปในทางเดียวกัน หรือขัดแย้งต่างมุมมองกัน

การพูด อย่างเป็นทางการในที่ประชุม การพูดกับคนจำนวนมาก เช่น การกล่าวคำอวยพร กล่าวปาฐกถา กล่าวสุนทรพจน์ บรรยายทางวิชาการ อภิปราย โต้วาที

การพูด กึงทางการ เช่น แสดงความคิดเห็นในที่ประชุม แสดงความคิดเห็นทางวิชาการ เล่านิทาน เล่าประสบการณ์ เป็นต้น

โดยทั่วไป ผู้ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจการงาน มีมนุษยสัมพันธ์ และทำประโยชน์ให้แก่สังคมประเทศชาติ สัวนใหญ่ เป็นคนที่มีประสิทธิภาพในการพูด

............................................................

วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ตารางธาตุ

ตารางธาตุ คือ การรวบรวมธาตุต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นในธรรมชาติและ สังเคราะห์ขึ้น ธาตุบางธาตุมีสมบัติบางประการคล้ายกัน นักวิทยาศาสตร์จึงใช้สมบัติเหล่านี้เป็นเกณฑ์ในการจัดธาตุเป็นหมวดหมู่

ตารางธาตุ



 (ขอขอบคุณ รูปภาพจาก rmutphysics.com)

หมู่ตารางธาตุมี 8 หมู่ มีรายละเอียดดังนี้

หมู่ 1 (IA,IA): โลหะอัลคาไลน์ ได้แก่ ลิเทียม โซเดียม โพแทสเซียม รูบิเดียม ซีเซียม และแฟรนเซียม
หมู่ 2 (IIA,IIA): โลหะอัลคาไลน์เอิร์ท ได้แก่ เบริลเลียม แมกนีเซียม แคลเซียม สตรอนเชียม แบเรียม เรเดียม
หมู่ 3 (IIIA,IIIB) ได้แก่ B Al Ga In Tl
หมู่ 4 (IVA,IVAB) ได้แก่ C Si Ge Sn Pb
หมู่ 5 (VA,VB) ได้แก่ N P As Sb Bi
หมู่ 6 (VIA,VIB) ได้แก่ O S Se Te Po
หมู่ 7 (VIIA,VIIB) หมู่ธาตุแฮโลเจน ได้แก่ ฟลูออรีน คลอรีน โบรมีน ไอโอดีน และแอสทาทีน
หมู่ 8 (VIII) หรือก๊าซเฉื่อย  ได้แก่ ฮีเลียม นีออน อาร์กอน คริปทอน ซีนอน และเรดอน

คาบต่าง ๆ ในตารางธาตุแบ่งเป็น 7 คาบดังนี้

คาบที่ 1 มี 2 ธาตุ คือ H , He
คาบที่ 2 มี 8 ธาตุ คือ ตั้งแต่ Li ถึง Ne
คาบที่ 3 มี 8 ธาตุ คือ ตั้งแต่ Na ถึง Ar
คาบที่ 4 มี 18 ธาตุ คือ ตั้งแต่ K ถึง Kr
คาบที่ 5 มี 18 ธาตุ คือ ตั้งแต่ Rb ถึง Xe
คาบที่ 6 มี 32 ธาตุ คือ ตั้งแต่ Cs ถึง Rn
คาบที่ 7 มี 19 ธาตุ คือ ตั้งแต่ Fr ถึง Ha

ประเภทของธาตุในตารางธาตุ

1. ธาตุโลหะ (metal) มีสถานะเป็นของแข็ง ( ยกเว้นปรอท ที่เป็นของเหลว) มีผิวมันวาว  นำความร้อน และไฟฟ้าได้ดี  มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูง ได้แก่  โซเดียม (Na)    เหล็ก (Fe) แคลเซียม (Ca) ปรอท (Hg) อะลูมิเนียม (Al) แมกนีเซียม (Mg)   สังกะสี (Zn) ดีบุก (Sn)  เป็นต้น

2. ธาตุอโลหะ ( Non metal ) มีทั้งสามสถานะ  ผิวไม่มันวาว ไม่นำไฟฟ้า ไม่นำความร้อน จุดเดือดและจุดหลอมเหลวต่ำ  ได้แก่  คาร์บอน( C ) ฟอสฟอรัส (P) กำมะถัน (S) โบรมีน (Br)   ออกซิเจน (O 2)   คลอรีน (Cl 2) ฟลูออรีน (F 2) เป็นต้น

3. ธาตุกึ่งโลหะ (metalloid)  เป็นธาตุกึ่งตัวนำ  คือ  สามารถนำไฟฟ้าได้เฉพาะในภาวะหนึ่งเท่านั้น ได้แก่  โบรอน (B) ซิลิคอน ( Si) เป็นต้น

4. ธาตุกัมมันตรังสี เป็นธาตุที่มีส่วนประกอบของ นิวตรอน กับโปรตอน ไม่เหมาะสม (>1.5) ธาตุที่ 83ขึ้นไปเป็นธาตุกัมมันตภาพรังสีทุกไอโซโทปมีครึ่งชีวิต

....................................................



สารประกอบและธาตุ

จากบทที่เรียน เรื่อง การแยกสารผสม ผลจากการแยกสารผสมด้วยวิธีการต่างๆนั้น เช่น การกรอง การกลั่น การโครมาโตกราฟฟี การกลั่นด้วยไอน้ำ เราจะได้สารแต่ละชนิดที่มีสมบัติเฉพาะตัวออกมา หรือที่เราเรียกว่า สารบริสุทธิ์

สารบริสุทธิ์ - สารเนื้อเดียว ที่ประกอบด้วยสารเพียงชนิดเดียว ไม่มีสารอื่นเจือปน และไม่สามารถจะแยกหรือสลายออกเป็นสารอื่นได้อีก เช่น เงิน ทอง คาร์บอน ออกซิเจน เป็นต้น

สารประกอบ คือ สารบริสุทธิ์เนื้อเดียว ที่เกิดจากธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปเป็นองค์ประกอบ เช่น น้ำ(H2O) คาร์บินไดออกไซด์(CO2)  เกลือแกง(NaCl) เป็นต้น

ธาตุ คือ สารซึ่งประกอบด้วยอะตอมชนิดเดียวกัน มีการค้นพบธาตุทั้งหมดอยู่ 109 ธาตุ เป็นธาตุที่อยู่ในธรรมชาติ 89 ธาตุ  นอกจากนี้เป็นธาตุที่สังเคราะห์ขึ้น

......................................................

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กลอนสดุดี ท่านสุนทรภู่

กลอนสดุดี ท่านสุนทรภู่

กาพย์กลอนใดคงบังเกิดในพื้นหล้า
คือภาษาร้อยเรียงเสียงประสาน      
วรรณคดีมีมาแต่ช้านาน                      
แต่ก่อนกาลครูฝากไว้ให้ชื่นชม
             
ไม่เมาเหล้าแต่เรายังเมารัก        
สุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน
ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป            
 แต่เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืน

เอกกวีกาพย์กลอนสุนทรภู่                  
บรมครูผู้สร้างงานภาษา
ท่านฝากไว้ให้สานต่อเจตนา
รักษ์ภาษาของไทยไว้ให้ยืนยง

................................................................
โอบนิธิ

วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โจทย์ สังกรณ์วิทยาศาสตร์ 6

6.  ดาววีกา (Vega) เป็นหนึ่งในสิบของดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุด สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในเวลากลางคืน ถ้าดาววีกาอยู่ห่างจากโลกประมาณ 378.4  ล้านล้านกิโลเมตร ดาววีกาอยู่ห่างจากโลกกี่ปีแสง (กำหนดให้ 1 ปีแสง เท่ากับ 9.46 x 10 ยกกำลัง 12 กิโลเมตร)

วิธีทำ
ถ้าดาววีกาอยู่ห่างจากโลกประมาณ 378.4  ล้านล้านกิโลเมตร
1 ปีแสง เท่ากับ 9.46 x 10 ยกกำลัง 12 กิโลเมตร
ดาววีกาอยู่ห่างจากโลกกี่ปีแสง

1 ปีแสง เท่ากับ (9.46 x 10 ยกกำลัง 12) กิโลเมตร
ดาววีก้าอยู่ห่างจากโลก เท่ากับ (378.4 x 10 ยกกำลัง 12) ปีแสง
=  (378.4 x 10 ยกกำลัง 12)  x (9.46 x 10 ยกกำลัง 12) ปีแสง
=  (378.4 x 9.46)  x (10 ยกกำลัง 12 x 10 ยกกำลัง 12) ปีแสง
=  (3579.664 x  10 ยกกำลัง 24) ปีแสง
=  (3.579664 x  10 ยกกำลัง 27) ปีแสง

เพราะฉะนั้น  ดาววีกาอยู่ห่างจากโลก  =  (3.579664 x  10 ยกกำลัง 27) ปีแสง

................................................

โจทย์ สังกรณ์วิทยาศาสตร์ 5

5. ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์มีเส้นผ่านศูนย์กลาง (1.39 x 10 ยกกำลัง 9) กิโลเมตร และ (3.48 x 10 ยกกำลัง 3) กิโลเมตรตามลำดับ  จงหาอัตราส่วนเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ต่อดวงจันทร์

วิธีทำ
ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์มีเส้นผ่านศูนย์กลาง (1.39 x 10 ยกกำลัง 9) กิโลเมตร
และ (3.48 x 10 ยกกำลัง 3) กิโลเมตร
อัตราส่วนเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ต่อดวงจันทร์
=  (1.39 x 10 ยกกำลัง 9)  /  (3.48 x 10 ยกกำลัง 3)  กิโลเมตร
=  (1.39/ 3.48 ) x (10 ยกกำลัง 9 / 10 ยกกำลัง 3)  กิโลเมตร
=  (1.39/ 3.48 ) x (10 ยกกำลัง 6)  กิโลเมตร

อัตราส่วนเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงอาทิตย์ต่อดวงจันทร์   (1.39 x 10 ยกกำลัง 6) :  3.48  กิโลเมตร

...........................................

โจทย์ สังกรณ์วิทยาศาสตร์ 4

4. ถ้าสมองของปลาวาฬหนัก 0.001  ของน้ำหนักตัวของปลาวาฬ  ถ้าปลาวาฬตัวหนึ่งหนักประมาณ (5.83 x 10 ยกกำลัง 4) กิโลกรัม อยากทราบว่าน้ำหนักของสมองของปลาวาฬตัวนี้เป็นเท่าใด

วิธีทำ
ถ้าสมองของปลาวาฬหนัก 0.001  ของน้ำหนักตัวของปลาวาฬ 
ถ้าปลาวาฬตัวหนึ่งหนักประมาณ (5.83 x 10 ยกกำลัง 4) กิโลกรัม
เพราะฉะนั้น  น้ำหนักของสมองของปลาวาฬตัวนี้เป็น
=  0.001  x  (5.83 x 10 ยกกำลัง 4) กิโลกรัม
=  (1 x 10 ยกกำลัง -3 )  x  (5.83 x 10 ยกกำลัง 4)   กิโลกรัม
=  (1 x  5.83)  x  (10 ยกกำลัง -3 x 10 ยกกำลัง 4)   กิโลกรัม
=  5.83  x  10   กิโลกรัม

น้ำหนักของสมองของปลาวาฬตัวนี้เป็น  5.83  x  10   กิโลกรัม

................................................

โจทย์ สังกรณ์วิทยาศาสตร์ 3

3. ถ้าแสงมีความเร็วประมาณ (3 x 10 ยกกำลัง 8) เมตรต่อวินาที  จงหาระยะทางที่แสงวิ่งใน 1 วัน

วิธีทำ
ถ้าแสงมีความเร็วประมาณ (3 x 10 ยกกำลัง 8) เมตรต่อวินาที 
จงหาระยะทางที่แสงวิ่งใน 1 วัน
1  วัน  เท่ากับ  (24 x 60 x 60)  =  86400  วินาที

เพราะฉะนั้น ระยะทางที่แสงวิ่งใน 1 วัน 
=  (3 x 10 ยกกำลัง 8)  x 86400 เมตรต่อวินาที 
=  (3 x 10 ยกกำลัง 8) x (8.64 x 10 ยกกำลัง 4)  เมตรต่อวินาที 
=  (3 x 8.64) x (10 ยกกำลัง 8 x 10 ยกกำลัง 4)  เมตรต่อวินาที 
=  (25.92) x (10 ยกกำลัง 12)  เมตรต่อวินาที 
=  2.592 x (10 ยกกำลัง 13)  เมตรต่อวินาที 

ระยะทางที่แสงวิ่งใน 1 วัน  =  2.592 x (10 ยกกำลัง 13)  เมตรต่อวินาที 

.......................................................

โจทย์ สังกรณ์วิทยาศาสตร์ 2

2. ถ้าเสียงมีความเร็วประมาณ (1.2 x 10 ยกกำลัง 3)  กิโลเมตรต่อชั่วโมง  จงหาระยะทางที่เสียงเดินทางได้ในเวลา 1 วัน (ตอบในรูป a x 10 ยกกำลัง n เมื่อ a มีค่าอยู่ระหว่าง 1 - 10 )

วิธีทำ
ถ้าเสียงมีความเร็วประมาณ (1.2 x 10 ยกกำลัง 3)  กิโลเมตรต่อชั่วโมง
จงหาระยะทางที่เสียงเดินทางได้ในเวลา 1 วัน
1  วัน  =  24  ชั่วโมง
เพราะฉะนั้น  ระยะทางที่เสียงเดินทางได้ในเวลา 1 วัน เท่ากับ
=  (1.2 x 10 ยกกำลัง 3) x 24 
=  (1.2 x 24) x 10 ยกกำลัง 3
=  (28.8 x 10 ยกกำลัง 3)
=  2.88 x 10 ยกกำลัง 4

เพราะฉะนั้น ระยะทางที่เสียงเดินทางได้ในเวลา 1 วัน เท่ากับ  2.88 x 10 ยกกำลัง 4  กิโลเมตรต่อชั่วโมง

..............................................

โจทย์ สังกรณ์วิทยาศาสตร์ 1

1. ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะเช่นเดียวกับโลก พื้นที่ผิวส่วนใหญ่ประกอบด้วยหินและผงโลหะจำพวกเหล็ก เมื่อมองจากโลกจึงเห็นเป็นสีแดง ดาวอังคารมีมวลประมาณ 0.1074 เท่าของโลก ถ้าโลกมีมวลประมาณ (5.98 x 10ยกกำลัง 24)  กิโลกรัม จงหาว่า ดาวอังคารมีมวลประมาณกี่กิโลกรัม เขียนคำตอบในรูปสังกรณ์วิทยาศาสตร์

วิธีทำ 
ดาวอังคารมีมวลประมาณ 0.1074 เท่าของโลก
ถ้าโลกมีมวลประมาณ (5.98 x 10ยกกำลัง 24)  กิโลกรัม
เพราะฉะนั้น  ดาวอังคารมีมวล  =  0.1074 x (5.98 x 10ยกกำลัง 24)  กิโลกรัม
                                                 =  (1.074 x 10) x (5.98 x 10ยกกำลัง 24)
                                                 =  (1.074 x 5.98) x (10 x 10ยกกำลัง 24)
                                                 =  (6.42252) x 10 ยกกำลัง 25

ดาวอังคารมีมวลประมาณ  6.42252 x 10 ยกกำลัง 25  กิโลกรัม

............................................

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คุณสมบัติวัตถุทึบแสง

วัตถุทึบแสง มีคุณสมบัติ ดังนี้

1. ไม่ยอมให้แสงผ่านได้
2. เราไม่สามารถมองเห็นวัตถุที่อยู่ด้านหลังวัตถุทึบแสง
3. เมื่อแสงส่องถูกวัตถุนี้ ทำให้เกิดเงา

ตัวอย่างวัตถุทึบแสง เช่น ไม้ โลหะ คอนกรีต เซรามิก พลาสติคแข็ง

...................................

คุณสมบัติวัตถุโปร่งแสง

วัตถุโปร่งแสง มีคุณสมบัติดังนี้

1. ยอมให้แสงบางส่วนผ่านได้ และผ่านในลักษณะการกระจัดกระจาย
2. เราสามารถมองเห็นวัตถุโปร่งแสงได้อย่างพร่ามัว
3. เมื่อแสงสว่างถูกวัตถุนี้ ทำให้เกิดเงาสลัวๆ

ตัวอย่างของวัตถุโปร่งแสง เช่น แก้วทึบ กระดาษลอกลาย

............................................

คุณสมบัติของวัตถุโปร่งใส

วัตถุโปร่งใส มีคุณสมบัติดังนี้

1. ยอมให้แสงผ่านวัตถุได้เป็นส่วนใหญ่
2. เราสามารถมองเห็นวัตถุที่อยู่ด้านหลังวัตถุโปร่งใสได้อย่างชัดเจน
3. เมื่อแสงสว่างถูกวัตถุนี้ ไม่ทำให้เกิดเงา

ตัวอย่างของวัตถุโปร่งใส เช่น แก้วใส น้ำ และอากาศ

...............................................

วัตถุเปล่ง/วัตถุไม่เปร่งแสง

นักวิทยาศาสตร์ จำแนก วัตถุบนโลกนี้ เป็น 2 ประเภทคือ

1. วัตถุเปล่งแสงได้ - วัตถุที่สามารถปล่อยแสงออกมาได้ด้วยตัวเอง เช่น ดวงอาทิตย์ ไส้หลอดไฟที่ร้อนแดง เปลวไฟของแก๊สร้อน เป็นต้น

2.วัตถุที่เปล่งแสงไม่ได้ - วัตถุที่ไม่สามารถปล่อยแสงออกมาได้ด้วยตนเอง เราจะเห็นวัตถุเหล่านี้ได้ก็ต่อเมื่อแสงกระทบกับวัตถุนั้น และสะท้อนมายังตาเรา แต่ถ้าไม่มีแสงสว่างกระทบวัตถุนั้น เราก็ไม่สามารถมองเห็นวัตถุนั้นได้

.............................................

วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประเพณี

ประเพณี หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่กำหนดพฤติกรรมในสถานการณ์ต่างๆ ที่คนในสังคมยึดถือปฏิบัติสืบกันมา ถ้าใครพฤติออกนอกแบบก็ผิดประเพณี หรือผิดจารีตประเพณี

ความเป็นมาของประเพณีประเพณีมีบ่อเกิดมาจากสภาพสังคม ธรรมชาติ ทัศนคติ เอกลักษณ์ ค่านิยม โดยความเชื่อของคนในสังคมต่อสิ่งที่มีอำนาจเหนือมนุษย์นั้นๆ

ประเพณีและวัฒนธรรม เมื่อว่าโดยเนื้อความก็เป็นสิ่งอย่างเดียวกัน คือ เป็นสิ่งที่ไม่ใช่มีอยู่ในธรรมชาติโดยตรง แต่เป็นสิ่งที่สังคมหรือคนในส่วนรวมร่วมกันสร้างให้มีขึ้น

ประเภทของประเพณีประเภทของประเพณีแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
 - จารีตประเพณี หรือกฎศีลธรรม หมายถึง สิ่งซึ่งสังคมใดสังคมหนึ่งยึดสือและปฏิบัติสืบกันมาอย่างต่อเนื่อง
 - ขนบประเพณี หรือสถาบัน หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่สังคมได้กำหนดไว้แล้วปฏิบัติสืบต่อกันมา
 - ธรรมเนียมประเพณี หมายถึง ประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญที่ทุกคนควรทำ ไม่มีระเบียบแบบแผนเหมือนขนบประเพณี

.....................................................

รูปทรงเรขาคณิต

รูปทรงเรขาคณิต
รูปทรงเรขาคณิต เป็นรูปที่ประกอบด้วยจุด เส้นตรง ส่วนโค้งต่าง ๆ
ถ้าเป็นรูปทรงที่มีความหนา ความลึก ความสูง เราก็เรียกว่ารูปสามมิติ

รูปเรขาคณิตสองมิติรูปเรขาคณิตสองมิติ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ตามลักษณะของขอบหรือด้านของรูป
ได้แก่ กลุ่มที่มีขอบหรือด้านของรูปเป็นส่วนของเส้นตรง และกลุ่มที่มีขอบหรือด้านเป็นเส้นโค้งงอ

รูปเรขาคณิตสามมิติสิ่งต่างๆ รอบตัวเรามีลักษณะสำคัญ คือมีความกว้าง ความยาว และความหนาหรือความสูง
อาจเรียกรวมๆ ว่ารูปเรขาคณิตสามมิติ รูปเรขาคณิตสามมิติบางชนิดมีชื่อทางเรขาคณิต
แต่หลายชนิดก็ไม่มีชื่อทางเรขาคณิต

...............................................

การแยกสารผสม 2

การแยกสารผสมมี 7 วิธี ดังนี้ครับ

1.การกลั่น - เหมาะสำหรับการแยกของเหลวที่ปนเป็นเนื้อเดียวกัน โดยทำให้ของเหลวกลายเป็นไอ และควบแน่นเป็นของเหลวอีกครั้ง

การกลั่นแบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. การกลั่นแบบธรรมดาหรือการกลั่นอย่างง่าย
2. การกลั่นลำดับส่วน
3. การกลั่นน้ำมันดิบ         
4. การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ

2.การใช้กรวยแยก - เหมาะสำหรับแยกของเหลวที่ไม่ละลายต่อกัน และแยกชั้นกันอย่างชัดเจน เช่น น้ำกับน้ำมัน

3.การกรอง - เหมาะสำหรับของแข็งที่ไม่ละลายน้ำ หรือละลายน้ำที่ปนอยู่ด้วยกัน วิธีการกรองโดยใช้กรวยกรอง เมื่อเทสารผ่านกระดาษกรอง ของเหลวจอไหลผ่านกระดาษกรองไปได้ แต่ของแข็งจะติดอยู่บนกระดาษกรอง

4.การตกผลึก - เป็นการแยกสารที่เป็นของแข็งที่ละลายในของเหลว โดยการทำให้สารที่เป็นของแข็ง ตกผลึกจากสารละลาย

5.การสกัดด้วยไอน้ำ - เหมาะสำหรับการสกัดน้ำมันหอมระเหย จุดเดือดต่ำจะระเหยง่าย

6.การสกัดด้วยตัวทำละลาย - เหมาะกับสารที่ละลายง่าย โดยใช้หลักการที่ว่า สารที่มีความสามารถในการทำละลายต่างกันในตัวทำละลายต่างชนิดกัน สามารถแยกสารออกจากกันได้ครับ

7.โครมาโตกราฟฟี - การแยกสารโดยอาศัยหลักการที่ว่า สารแต่ละชนิดจะมีความสามารถในการละลายและดูดซับไม่เท่ากัน เหมาะกับสารปริมาณน้อยๆ

...............................................................

การแยกสารผสม 1

เราสามารถแยกสารแต่ละชนิดที่ผสมกันออกจากกัน ได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับลักษณะและสมบัติของสารที่ผสมกันอยู่ เช่น

- ตะปูปนกับทราย อาจใช้การหยิบออก
- ผงตะไบเหล็กปนกับน้ำตาลทราย อาจใช้แม่เหล็กดูดผงตะไบเหล็กออก
- ทรายปนกับเกลือ วิธีการแยกง่ายๆคือ ละลายสารผสมด้วย น้ำ และกรองแยกทรายออกมา สารละลายที่ได้คือ น้ำเกลือ และเมื่อระเหยน้ำออกมา เราก็จะได้เกลือกลับคืนมา

วิธีการกรอง - เป็นการแยกของแข็งออกจากของเหลว โดยผ่านตัวกรองที่มีรูพรุนขนาดที่เหมาะสม มาขวางกั้นอนุภาคของของแข็ง ของเหลวที่มีอนุภาคเล็กกว่า จึงลอดผ่านรูพรุนนั้นได้  ของแข็งมรขนาดอนุภาคใหญ่กว่ารูพรุน ก็จะค้างอยู่บนตัวกรอง

ตัวกรองนี้ อาจได้แก่ ผ้าขาวบาง กระดาษกรอง เป็นต้น
เช่น

- กรองน้ำตาลทรายกับก้อนกรวด โดยใช้ตะแกรงลวดตาถี่
- กรองน้ำโคลน โดยใช้ผ้าขาวบาง
เป็นต้น

..............................................

สารเนื้อผสม

สารเนื้อผสม หมายถึง สารที่มีสารหลายชนิดปะปนกัน ไม่กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน และสารแต่ละชนิดจะยังคงคุณสมบัติของสารเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านกายภาพและด้านเคมี เราสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าและบอกได้ว่าสารเนื้อผสมนี้ ประกอบด้วยสารอะไรผสมกันบ้าง

สารเนื้อผสมแบ่งออกเป็น 3 สถานะคือ
1.ของแข็ง - เช่น ทราย คอนกรีต เป็นต้น
2.ของเหลว - น้ำโคลน น้ำจิ้มไก่ เป็นต้น
3.แก๊ส - ฝุ่นละอองในอากาศ เขม่า เป็นต้น

...................................................

สารบริสุทธิ์ และสารไม่บริสุทธิ์

นักวิทยาศาสตร์ แบ่ง ประเภทของสารเนื้อเดียวได้ 2 ชนิดครับ คือ

1.สารบริสุทธิ์ - สารเนื้อเดียวที่ประกอบด้วยสารเพียงชนิดเดียว ไม่มีสิ่งอื่นเจือปนครับ เช่น น้ำตาลทราย แก๊ซออกซิเจน เป็นต้น

2.สารไม่บริสุทธิ์ - เป็นสารเนื้อเดียวที่ประกอบด้วยสารตั้งแต่ 2 ชนิดผสมกัน มองเห็นเป็นเนื้อเดียวกันโดยตลอด เช่น น้ำเกลือ น้ำมันพืช เป็นต้น

...........................................

สารเนื้อเดียว

สสารแบ่งจากลักษณะของเนื้อสารได้ 2 ประเภทคือ

1.สารเนื้อเดียว - คือสารที่มองเห็นเป็นเนื้อเดียวกัน  ซึ่งอาจเกิดจากสารชนิดเดียว หรือสารที่ผสมกันมากกว่า 2 ชนิดขึ้นไปก็ได้ครับ เช่น  น้ำเกลือ น้ำตาลทราย เป็นต้น

น้ำตาลทราย - เป็นสารชนิดเดียวคือ น้ำตาลทราย และมองเห็นเป็นเนื้อเดียวกันหมด
น้ำเกลือ - เกิดจากการผสมกันของน้ำ + เกลือ เมื่อคนให้ละลาย จะได้สารละลายน้ำเกลือ ซึ่งมองมุมไหนก็เห็นเป็นเนื้อเดียวกันครับ

สารเนื้อเดียว มี 3 สถานะคือ
1.ของแข็ง - เช่น ทองแดง ทองคำ น้ำตาลทราย
2.ของเหลว - เช่น น้ำเกลือ น้ำเชื่อม น้ำมันพืช
3.ก๊าซ - ก๊าซออกซิเจน ก๊าซหุงต้ม ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

................................................

วันพุธที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การกระจายแสง

เมื่อแสงเดินทางจากปริซีม  ลำแสงที่ผ่านเข้าแท่งปรีซึม  และลำแสงที่เคลื่นที่ออกจากปริซึมสู่อากาศ จะมีความแตกต่างกันครับ

แสงที่เราส่องผ่านปริซึม จะเป็นแสงสีขาว จากดวงอาทิตย์ และเมื่อแสงเดินทางผ่านปริซึืม แสงที่เคลื่อนที่ออกมาสู่อากาศจะแยกออกเป็นสีต่างๆ  7  สี  ได้แก่  สีม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด  และสีแดง

เนื่องจากปริซึืม เป็นตัวกลางโปร่งแสง เพื่อให้แสงจากดวงอาทิตย์ส่องผ่านเข้าไปในแท่งปริซึืม เมื่อแสงผ่านเข้าไปในแท่งปริซึืมแล้ว แสงแต่ละสีในแสงขาว จะหักเห ทำมุมที่แตกต่างกัน จึงเป็นสาเหตุทำให้แสงขาวแยกเป็นสีต่างๆกัน  แสงสีม่วงจะหักเหมากที่สุด ขณะที่สีแดงจะหักเหน้อยที่สุดครับ

แสงขาว

เมื่อเรามองแสงแดดที่ส่องจากดวงอาทิตย์มายังโลก เราจะเห็นว่า แสงนั้นไม่มีสี  แต่เมื่อเรานำกระดาษสีขาวไปวางไว้ในที่ร่ม  แล้วให้แสงแดดส่องลงไปที่กระดาษแผ่นนั้น  เราจะมองเห็นแผ่นกระดาษตรงตำปหน่งที่แสงแดดตกกระทบเป็นสีขาว  นักวิทยาศาสตร์จึงได้ตกลงกัน  เรียกแสงใดๆที่ส่องลงมาบนฉากสีขาว  แล้วมองเห็นฉากตรงตำแหน่งที่แสงส่องนั้นเป็นสีขาวดังเดิม เรียกว่า  แสงสีขาว

นอกจากนั้นยังมีแสงที่เกิดจากแหล่งกำเนิดอื่นๆ  ที่ถือว่าเป็น แสงขาวด้วยเหมือนกัน  เช่น  แสงจากหลอดไฟฟ้าธรรมดา  แสงจากแฟลซกล้องถ่ายรูป  แสงฟ้าแลบ  และแสงจากการเชื่อมโลหะ  เป็นต้น

แต่ที่จริงแล้ว  แสงแสงขาวที่เราเห็นสั้น  เกิดจากการผสมกันของแสงสีต่างๆหลายสี  ปต่นัยน์ตาของเราไม่สามารถกระจายแสงสีต่างๆนั้นได้  จึงมองเห็นเป็น แสงสีขาวครับ

...................................................

ธรรมชาติของแสง

ธรรมชาติของแสง

แสงเป็นพลังงานรูปนึ่งที่มีความจำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต  ไม่ว่าจะเป็น พืช สัตว์  หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์  เพราะแสงทำให้เราสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆได้  และยังช่วยในกระบวนการสร้างอาหารของพืช

พลังงานที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้  ส่วนใหญ่มาจากดวงอาทิตย์  นอกจากนี้  ยังมีแสงจากดวงดาวต่างๆ  ฟ้าแลบ  และไฟ   สัตว์บางชนิดสามาถให้กำเนิดแสงได้  เช่น  หิ่งห้อย  และหนอนกระสือ  เป็นต้น  พลังงานแสงสามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานอื่นๆได้หลายอย่าง  เช่น

-  พลังงานเคมี  ที่เกิดจากการสังเคราะห์แสงของพืช

-  (เครื่องคิดเลข) พลังงานอิเลคทรอนิกส์  ที่เกิดดจากพลังงานแสงอาทิตย์
-  พลังงานความร้อน  เมื่อแสงตกกระทบผิวหน้าของวัตถุ

......................................................

หน้าที่ของคำนาม

หน้าที่ของคำนาม  (Function  og  Noun)


1.ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค  (Subject)  เช่น
A  student  stdies  hard  in  a  library.
(นักเรียนคนหนึ่งขยันดูหนังสือหนักในห้องสมุด)
student (นักเรียน) เป็นคำนามที่ทำหน้าที่เป็น ประธาน ของประโยค

2.ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค  (Object)  เช่น
A  boy  eats  rices.
(เด็กผู้ชายทานข้าว)
rices  (ข้าว)  เป็นคำนามที่ทำหน้าที่เป็น กรรม ของประโยค

3.หน้าที่เป็นส่วนสมบรูณ์ของประโยค ทำให้ประโยคนั้นได้ใจความ  เช่น
 He  is  a  teacher.
(เขาเป็นครู)
teacher  (ครู)  เป็นคำนามที่ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็มของประโยคนั้นให้สมบูรณ์

4.ทำหน้าที่เป็น นามขยายนามด้วยกัน  เช่น
Clinton,the American President, will visit Thailand next month.
(นายคลินตัน ประธานาธิบดีของอเมริกาจะมาเยือนประเทศไทยเดือนหน้า)
american (สัญชาติอเมริกัน) เป็นคำนามที่ขยาย president (ประธานาธิบดี)
และ president (ประธานาธิบดี) ป็นคำนามที่ขยาย Clinton (นายคลินตัน)

5.หน้าที่เป็นคำคุณศัพท์  (Adjective)  พื่อขยายคำนามด้วยกันเองในคำเดียวกัน  เช่น
-  mango  tree  (ต้นมะม่วง)
mango  (มะม่วง)  เป็นคำนามที่ขยาย  tree (ต้นไม้)

-  football  match  (การแข่งขันฟุตบอล)
football  (ฟุตบอล)   เป็นคำนามที่ขยาย  match  (การแข่งขัน)

.............................................

คำนามแบ่งตามรูปร่าง

มีอยู่  2  ชนิด  คือ
1.รูปนาม  (Concrete Noun)  ได้แก่ นามที่มีรูปร่างต่างๆกัน  โดยสามารถสัมผัส  หรือจับต้องได้  เช่น
หนังสือ  (book)  น้ำมัน  (oil)  หรือ  อากาศ  (air)  เป็นต้น

2.ธรรมนาม  (Abstract  Noun)  ได้แก่นามที่ไม่มีรูปร่างให้มองเห็น  และไม่สามารถจับต้องได้  เช่น
ความสุข  (happiness)  ความทุกข์  (suffering)  เป็นต้น

.............................................

วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การเปลี่ยนคำนามเอกพจน์ ให้เป็น คำนามพหูพจน์

การเปลี่ยนคำนามเอกพจน์ ให้เป็น คำนามพหูพจน์

โดยหลักการทั่วไป การเปลี่ยนคำนามเอกพจน์ให้เป็นคำนามพหูพจน์นั้นง่ายมากครับ คือการเติม s ท้ายคำนามนั้น ก็จะกลายเป็นคำนามพหูพจน์ทันที เช่น
-  door  -  doors  (ประตู)
-  cat   -  cats  (แมว)
-  pen  -  pens  (ปากกา)
แต่ยังมีคำนามพิเศษที่จะต้องมีหลักการเปลี่ยนคำนามจากเอกพจน์ เป็นคำนามพหูพจน์ ดังนี้คือ

1.นามเอกพจน์ที่ลงท้ายด้วย ,ss,sh,ch,x,z ให้เติม es เช่น
    bus  -  buses  (รถประจำทาง)
    glass  -  glasses  (แก้ว)
    box  -  boxes  (กล่อง)
    brush  -  brishes  (แปรง)
    bench  -  benches  (ม้านั่ง)
    whiz  -  whizes  (เสียงหวีด)

2.นามเอกพจน์ที่ลงท้ายด้วย o หละหน้า o เป็นพยัญชนะ ให้เติม es เช่น    mango  -  mangoes  (มะม่วง)
    buffalo  -  buffaloes  (ควาย)
    tomato  -  tomatoes  (มะเขือเทศ)
    potato  -  potatoes  (มันฝรั่ง)

3.นามเอกพจน์ที่ลงท้ายด้วย o ถ้าหน้า o เป็นสระ คงเติม s เท่านั้นครับ  เช่น    radio  -  radios  (วิทยุ)
    bamboo  -  bamboos  (ไม้ไผ่)
    studio  -  studios  (โรงถ่ายทำ)

คำยกเว้นที่ต้องเติม s เท่านั้น
    casino  -  casios  (คาสิโน)
    photo  -  photos  (รูปถ่าย)
    piano  -  pianos  (เปียโน)

4.คำนามที่ลงท้ายด้วย y ถ้าหน้า y เป็นพยัญชนะ เปลี่ยน y เป็น ies  เช่น
    baby  -  babies  (เด็กทารก)
    copy  -  copies  (สำเนา)
    lady  -  ladies  (สุภาพสตรี)

คำยกเว้น ที่เติม s เท่านั้น เช่น
    toy  -  toys  (ของเล่น)
    day  -  days  (วัน)
    monkey  -  monkeys  (ลิง)
    boy  -  boys  (เด็กผู้ชาย)


5.คำนามที่ลงท้ายด้วย f หรือ  fe ให้เปลี่ยน f หรือ เป็น ves เช่น
     leaf  -  leaves  (ใบไม้)
     wife  -  wives  (ภรรยา)
     knife  -  knives  (มีด)
     thief  -  thieves  (ขโมย)

คำยกเว้น  คำเหล่านี้เมื่อทำเป็นพหูพจน์ ก็เติม s เท่านั้น
    chief  (หัวหน้า)
    roof  (หลังคา)
    dwarf  (คนแคระ)
    gulf  (อ่าว)
    cliff  (หน้าผา)
    fife  (ขลุ่ย)
    safe  (ตู้นิรภัย)
    scarf  (ผ้าพันคอ)
    proof  (ข้อพิสูจน์)
    grief  (ความเศร้าโศก)

6.คำนามต่อไปนี้เมื่อทำเป็นพหูพจน์ จะเป็นการเปลี่ยนสระภายใน  เช่น
    man  -  men  (คนผู้ชาย)
    woman  -  weman  (คนผู้หญิง)
    foot  -  feet  (เท้า)
    tooth  -  teeth  (น)
    goose  -  geese  (ห่าน)
    louse  -  lice  (หมัด)
    mouse  -  mice  (หนู)
   
7.คำนามต่อไปนี้เมื่อทำเป็นพหูพจน์จะเติม  en  หรือ  ren  เช่น
    ox  -  oxen  (วัวตัวผู้)
    child  -  children  (เด็ก)
    vrother  -  brethren  (พี่น้องร่วมศาสนาเดียวกัน)

8.คำนามต่อไปนี้เป็นรูปเหมือนกันทั้งเอกพจน์และพหูพจน์  เช่น
    deer  (กวาง)
    fish  (ปลา)
    sheep  (กวาง)
    swine  (หมู)
    cod  (ปลาคอด)
    salmon  (ปลาเซลมอน)
    trout  (ปลาเทร้า)
    herring  (นกเฮอริ่ง)
    hippopotamus  (ฮิปโป)

9.นามต่อไปนี้ รูปเป็นพหูพจน์ แต่ใช้อย่างเอกพจน์เสมอ  เช่น
    news  (ข่าว)
    headquarters  (กองบัญชาการ)
    means  (วิธี)
    folks  (ฝูงชน)
    statistics  (สถิติ)
    ethics  (ศีลธรรม)

.............................................

การแบ่งคำนามตามจำนวนนับหรือพจน์

Number of Nouns
แบ่งออกเป็น 2 จำนวน คือ

  1. เอกพจน์ (Singular Nouns)  คำนามที่มีสิ่งเดียว อันเดียว หมายถึง คน สัตว์ สิ่งของ หรือสถานที่ เพียงสิ่งเดียว เช่น 
    -  a man  (ผู้ชายหนึ่งคน)
    -  a cat    (แมวหนึ่งตัว)
    -  a book  (หนังสือหนึ่งเล่ม)
  2. พหูพจน์ (Plural Nouns)  คำนามที่มีตั้งแต่ สองสิ่งขี้นไป  เช่น
    - two men  (ผู้ชาย 2 คน)
    - three cats  (แมว 3 ตัว)
    - four books  (หนังสือ 4 เล่ม)
......................................

ไม้แกะสลัก

ไม้แกะสลัก

งานแกะสลักในยุดก่อนทำขึ้นเพื่องานในสถาบัน ศาสนา และสถาบันเจ้านายเป็นส่วนใหญ่ เช่น คันทวย บานประตู หน้าบัน และโครงสร้างอื่น ๆ ของตัววิหาร หอพระไตรปิฎก หอคำ ซึ่งนอกจากจะใช้ประดับตกแต่ง แล้วยังสะท้อนวิธีคิดและโลกทัศน์ของคนร่วมสมัยอีกด้วย

เดิมแหล่งทำไม้แกะสลักของเชียงใหม่ อยู่แถบ วัวลายประตูเชียงใหม่ และชาวบ้านจากหมู่บ้านถวาย ไปฝึกฝนจนสามารถทำได้ดี จึงได้นำกลับมาทำที่บ้านถวาย ตำบลขุนคง อำเภอหางดง จนเป็นที่นิยมของคนทั่วไป

....................................................

กระดาษสา

กระดาษสา
 
การทำกระดาษสาที่เชียงใหม่ ทำกันมากที่หมู่บ้านต้นเปา ซึ่งมีอายุการทำมาประมาณ 100 ปีมาแล้ว ตั้งแต่ครั้งที่พระอินถา นำวิชาทำร่ม และมีการดาษสาเป็นส่วนสำคัญ จากพม่ามาสอนแก่ชาวบ่อสร้าง

เดิมบ้านต้นเปา มีต้นปอสาในป่ามากมาย จึงทำให้ชาวบ้านต้นเปา ยึดอาชีพ ทำเยื่อกระดาษสาเป็นอาชีพรองจากการทำนา และการทำอาชีพนี้จะทำกันในฤดูแล้ง เมื่อว่างจากงานไร่นา

..........................................................

ผ้าทอ

ผ้าทอ

ในล้านนาและเชียงใหม่ แม้จะทอผ้ากันได้เกือบทุกครัวเรือน แต่ทุกท้องที่ก็ไม่สามารถปลูกฝ้ายได้ จะปลูกกันเฉพาะที่ราบค่อนข้างแห้งแล้งเท่านั้น เพื่อนำไปแลกสินค้าหรือข้าว รวมทั้งนำมาทอเป็นผ้าใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ผ้าซิ่น ผ้าปูที่นอน ผ้าขาวม้า ย่าม หรือผ้าทอที่ใช้ทำบุญ เช่น ทอและย้อมผ้าสบง จีวร ตุง ผ้าห่อคัมภีร์
.........................................

เครื่องเงิน

เครื่องเงิน


 ภายหลังที่เศรษฐกิจขยายตัวขึ้นและมีการติดต่อค้าขายกับชาติอื่น เช่น พม่า และชาวเขาเผ่าต่าง ๆ เครื่องเงินจึงกลายเป็นสินค้าแลกเปลี่ยน หรือซื้อขายกับสินค้าจำเป็นอื่น ๆ และสามัญชนเริ่มใช้เครื่องเงินได้ ด้วยเหตุที่เจ้านายเริ่มเปลี่ยนไปใช้เครื่องทองแทน
สมัยพญาเม็งราย ได้มีการรวบรวมช่างเงินมาจากแคว้นพุกามอังวะ แต่ภายหลังที่เชียงใหม่ตกเป็นของพม่า ผู้คนกระจัดกระจายไปอยู่ตามที่ต่าง ๆ จนกระทั่งเชียงใหม่เป็นอิสระจากพม่า พระยากาวิละจึงได้ฟื้นฟูเชียงใหม่ พร้อมทั้งรวบรวมช่างฝีมือมาที่เชียงใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยจัดให้พักอาศัยอยู่แถบริมกำแพงเมืองด้านในสำหรับกลุ่มช่างเงินนั้น ได้มาตั้งรกรากอยู่ใกล้กับไทเขิน และตั้งชื่อหมู่บ้านของตนว่า "วัวลาย" หรือ "งัวลาย" ตามรัฐฉานที่ตนจากมา และการทำเครื่องเงินในระยะแรก ทำขึ้นเพื่อเป็นส่วยตามความต้องการของเจ้านาย


.....................................

หัตถกรรมเมืองเชียงใหม่

หัตถกรรมเมืองเชียงใหม่

เชียงใหม่มีหัตถกรรมมากมายหลายอย่าง มีทั้งที่คิดทำขึ้น เพื่อใช้งานในชีวิตประจำวัน และงานที่ประณีตบรรจงด้วยฝีมือ เชิงช่างอย่างที่เรียกกันว่า หัตถศิลป์ เช่น งานไม้แกะสลัก ซึ่งเป็นงานที่สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน ตามโลกทัศน์ของสังคมนั้น ๆ โดยขึ้นอยู่ในความอุปถัมภ์ของเจ้านาย ส่วนงานหัตถกรรมของชาวบ้านนั้นสร้างขึ้นสนอง ความต้องการของชาวบ้านโดยเฉพาะ เช่น ผ้าทอ หม้อดินเผา หรือเครื่องจักรสานเนื่องจากเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนามาช้านาน จึงมีงานศิลปหัตถกรรมมากมาย ทั้งด้านงานศิลปและงานช่าง อีกทั้งมีช่างฝีมือจากที่ต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก มาตั้งรกรากอยู่บริเวณรอบกำแพงเมือง งานฝีมือด้านต่าง ๆ ของเชียงใหม่จึงรุ่งเรืองและอยู่ในความอุปถัมภ์ของเจ้านายคุ้มหลวง เมื่อเจ้านายหมดอำนาจ งานช่างฝีมือก็อ่อนแอตามไปด้วย

ปัจจุบันงานด้านหัตถกรรมของเชียงใหม่ บางแห่งยังคงสร้างขึ้นตามแบบเดิมในอดีต ส่วนใหญ่แม้ยังใช้พื้นฐานของเทคนิค และวิธีการผลิตเก่า แต่ได้ปรับเปลี่ยนและพัฒนาทั้งรูปแบบทางศิลปะ กระบวนการผลิต และการจัดการให้เข้ากับกลไกตลาด เพื่อตอบสนองความต้องการของคนในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งงานด้านหัตถกรรมของเชียงใหม่ ที่ยังคงเป็นเอกลักษณ์และเป็นที่นิยมมีอยู่หลายชนิด เช่น เครื่องเงิน เครื่องเขิน ไม้แกะสลัก ผ้าทอตีนจก ผ้าไหมสันกำแพง เครื่องปั้นดินเผา ร่ม และกระดาษสา เป็นต้น
..............................................

ประเพณีล้านนา

ประเพณีล้านนา

นับจากอดีต ชีวิตของชาวล้านนาผูกพันอยู่กับพุทธศาสนา ซึ่งจะเห็นได้จากการดำเนินชีวิต และสถาบันทางศาสนาในชุมชน รวมทั้งระบบหัววัด ซึ่งมีการรวมกลุ่มของวัดต่าง ๆ ไม่ว่าใกล้หรือไกลกัน และคนในชุมชนหนึ่งชักชวนคนอีกชุมชนหนึ่งมาทำบุญที่วัดของตน เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์กัน

ขณะที่พุทธศาสนามีส่วนสัมพันธ์กับชีวิตของคนเมืองอย่างลึกซึ้ง แต่ความเชื่อดั้งเดิมเรื่องผีปู่ย่าและผีเสื้อเมือง ผีเจ้าเมืองก็มีปะปนอยู่ จนแยกกันไม่ออก ชาวล้านนาสามารถนำทั้งสองอย่างมาผสมผสานกันได้ อย่างกลมกลืน ในงานพิธีและประเพณีต่าง ๆ ซึ่งจะพบได้ในปัจจุบัน

ประเพณีและงานพิธีที่สำคัญในรอบปีของชาวเชียงใหม่มีอยู่มากมาย อาทิ ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีเข้าอินทขีล ประเพณี ลอยโคมลอยโขมด ประเพณีสรงน้ำพระธาตุจอมทอง และพิธีเลี้ยงผีปู่และย่า เป็นต้น

....................................

ประวัติเมืองเชียงใหม่ 3

ในรัชสมัยของพญาสามฝั่งแกน กษัตริย์องค์ที่ 8 ได้ส่งคณะสงฆ์ เดินทางไปศึกษาพุทธศาสนายังลังกา และได้กลับมาเผยแผ่พุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์ ไปยังเมืองต่าง ๆ จนทำให้พระภิกษุตื่นตัวศึกษาปริยัติธรรมจนแตกฉาน

ทรงสร้างวัดขึ้นอีกหลายวัด เช่น วัดมหาโพธาราม (วัดเจ็ดยอด) วัดป่าแดงมหาวิหาร เป็นต้น ทรงสร้างต่อเติมเจดีย์หลวงให้สูงขึ้น ทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตจากวัดพระธาตุลำปางหลวงมาประดิษฐานไว้ที่เจดีย์หลวงล่วงมาในสมัยพญาแก้ว หรือพระเมืองแก้ว กษัตริย์องค์ที่ 11 ภิกษุชาวเชียงใหม่ ได้สร้างผลงานวรรณกรรมทางพุทธศาสนาที่สำคัญไว้มากมาย เช่น จามเทวีวงศ์ ชินกาลมาลีปกรณ์ เวสสันดร ทีปนี มูลศาสนา และปัญญาสชาดก เป็นต้น

......................................................

ประวัติเมืองเชียงใหม่ 2

นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่

พญาเม็งราย เจ้าเมืองเงินยาง องค์ที่ 25 แห่งราชวงศ์ลาว ได้แผ่อำนาจจากแอ่งที่ราบลุ่มแม่น้ำกก มาจนถึงแคว้นหริภุญไชย ตีเมืองเล็กเมืองน้อยในเขตลุ่มแม่น้ำกกได้ทั้งหมด ตั้งเป็นแคว้นโยนก ส่วนเมืองใหญ่ เช่น เมืองพะเยาของพญางำเมือง ทรงใช้วิธีผูกสัมพันธไมตรี หลังจากนั้นได้แผ่อิทธิพลลงทางใต้ และสร้างเมืองเชียงรายเป็นศูนย์กลาง แล้วจึงเข้าตีแคว้นหริภุญไชย ซึ่งขณะนั้น มีความเจริญมั่นคง เป็นชุมทางการค้า มีแม่น้ำปิงเป็นเส้นทางขนส่งไปยังเมืองอโยธยาตอนล่าง ที่อยู่ใกล้ทะเล และสามารถติดต่อค้าขายกับจีนได้สะดวกเมื่อพญาเม็งรายตีได้แคว้นหริภุญไชยสำเร็จ จึงได้รวมเข้ากับแคว้นโยนกตั้งเป็น "อาณาจักรล้านนา" พร้อมกันนั้นพญาเม็งราย พญางำเมือง และพ่อขุนรามคำแหง จึงได้ร่วมกันสถาปนา "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" เมื่อปี พ.ศ. 1839 เป็นศูนย์กลาง อาณาจักรล้านนาตอนล่าง ที่นับเป็นศูนย์รวมของการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของอาณาจักร มีผู้ครองนครราชวงศ์เม็งรายต่อมาอีก 18 องค์พญาเม็งรายทรงส่งพระญาติวงศ์ไปปกครองหัวเมืองต่าง ๆ ที่เป็นเมืองขึ้น หรือเมืองที่สร้างขึ้นใหม่ เช่น ลำปาง เชียงตุง เชียงรุ้ง ส่งโอรสไปปกครอง เมืองที่สำคัญ ๆ ได้แก่ เมืองนาย หัวเมืองไทไหญ่ และเชียงราย ซึ่งในระยะแรก ถือเป็นศูนย์กลางของการปกครองอาณาจักรล้านนาตอนบน

รัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์องค์ที่ 9 ที่ได้รับการยกย่อง ให้มีฐานะเป็น "ราชาธิราช" เท่ากับกษัตริย์อยุธยา ทรงแผ่ขยายอาณาเขตของล้านนาไปอย่างกว้างขวาง โดยทางด้านใต้และด้านตะวันออก ยึดได้เมืองน่าน แพร่ จนถึงหลวงพระบาง
พญาเม็งราย ทรงรับอิทธิพลศาสนาพุทธจากแคว้นหริภุญไชยซึ่งเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาตั้งแต่เดิม จนสมัยของพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 ที่ได้ทรงรับเอาลัทธิลังกาวงศ์ จากอาณาจักรสุโขทัยมาเผยแพร่ ได้โปรดให้สร้างวัดวาอารามและเจดีย์มากมาย เช่น สร้างวัดสวนดอก หรือวัดบุปผาราม รวมทั้งวัดพระธาตุดอยสุเทพและเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่พระสุมนเถระอัญเชิญมาจากสุโขทัย แล้วอัญเชิญไปไว้ที่วัดสวนดอก และวัดพระธาตุดอยสุเทพนอกจากนั้น ทรงได้สนับสนุนให้พระภิกษุจากเมืองต่าง ๆ มาศึกษาพระธรรมวินัยแบบลังกาวงศ์ที่วัดบุปผาราม และอาราธนาพระสงฆ์ในนิกายเดิมมาบวชใหม่ในนิกายลังกาวงศ์อีกด้วย จึงทำให้ในรัชสมัยของพระองค์เป็นศูนย์กลางทางศาสนาแทนหริภุญไชยไปในที่สุด
..............................................

ประวัติเมืองเชียงใหม่ 1

จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหนึ่งในจังหวัดในประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 20,107 ตารางกิโลเมตร หรือใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของประเทศ และมีจำนวนประชากรประมาณ 1.63 ล้านคน มากเป็นอันดับที่ 5 ของประเทศ แบ่งการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ โดยที่อำเภอกัลยาณิวัฒนาเป็นอำเภอลำดับที่ 25 ของจังหวัด และลำดับที่ 878 ของประเทศ



จังหวัดเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่มีการพัฒนาในระดับสูง มีศักยภาพในการพัฒนาและเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ และการลงทุน จนเป็นเมืองเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ รองจากกรุงเทพมหานคร เป็นจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมมากมาย มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งเป็นที่ตั้งของอาณาจักรล้านนาในสมัยโบราณ มีภาษาล้านนา (คำเมือง) เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างกับจังหวัดอื่น ๆ ทั้งด้านประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม


เมืองเชียงใหม่ มีชื่อปรากฏในตำนานว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" ซึ่งเป็นราชธานีของอาณาจักรล้านนา สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1839 โดยพญามังราย


ในอดีตเชียงใหม่มีฐานะเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรนครรัฐอิสระ ชื่อว่า อาณาจักรล้านนา ซึ่งปกครองโดยกษัตริย์ราชวงศ์มังราย ประมาณ 261 ปี (ระหว่าง พ.ศ. 1839-พ.ศ. 2101) แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2101เชียงใหม่ได้เสียเมืองให้แก่พระเจ้าบุเรงนอง พระมหากษัตริย์พม่า และได้ถูกปกครองโดยพม่ามานานกว่าสองร้อยปี จนถึงสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงได้มีการทำสงครามเพื่อขับไล่พม่าออกจากเมืองเชียงใหม่และเชียงแสนได้สำเร็จ โดยการนำของเจ้ากาวิละและพระยาจ่าบ้าน


หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้ากาวิละ ขึ้นเป็น พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ โดยให้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือในฐานะประเทศราชของกรุงรัตนโกสินร์ และราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (ราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน) ซึ่งเป็นเชื้อสายของพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ ก็ได้ปกครองเมืองเชียงใหม่และหัวเมืองต่าง ๆ สืบต่อมา และเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น "รัตนติงสาอภินวบุรีเชียงใหม่"


ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองประเทศราช โดยมีการจัดตั้งการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลเรียกว่า "มณฑลพายัพ" หรือมณฑลลาวเฉียง ต่อมาเชียงใหม่ได้มีการปรับปรุงการปกครองและยกฐานะขึ้นเป็น "จังหวัด" ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงปัจจุบัน


ขอขอบคุณ  ข้อมูลจาก th.wikipedia.org
.............................................................

วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ระบบร่างกาย

ระบบร่างกาย



.........................................................

การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคกระเพาะ

การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคกระเพาะ

1.   กินอาหารให้เป็นเวลา ไม่ปล่อยให้ท้องว่าง หรือหิว ถ้าหิวก่อนเวลาให้ดื่มนม หรือน้ำเต้าหู้ น้ำข้าว น้ำผลไม่ได้

2.   หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด จากน้ำสมสายชู

3.   งดดื่มเหล้า เบียร์ กาแฟ ยาดอง
4.   งดการสูบบุหรี่

5.   หลีกเลี่ยงการกินยาแก้ปวด แก้ไข ที่มีแอสไพริน หรือยาชุดต่างๆ รวมทั้งยาแก้ปวดกระดูก และยาsteroid ยาลูกกลอน ยา   หม้อต่างๆ

6.   ควรพักผ่อนให้มากเพียงพอ ทำจิตใจให้เบิกบานผ่อนคลายเครียดวิตกกังวล และไม่หงุดหงิดอารมณ์เสียง่าย

7.   กินยาตามแพทย์สั่ง ถ้ากินยาแล้วอาการดีขึ้น ต้องกินยาติดต่อกันอย่างน้อย 4-6 อาทิตย์ ไม่ควรหยุดยาก่อน เพราะอาการปวดท้องจะกำเริบได้อีก

8.   ควรออกกำลังกาย แต่ไม่ควรมากเกินไป

9.   อย่าซื้อยากินเอง มีโรคอื่นควรปรึกษาแพทย์

............................................................

อาการของโรคกระเพาะ

อาการของโรคกระเพาะ
1. ปวดท้อง ลักษณะอาการปวดท้องที่สำคัญ คือ
• ปวดบริเวณลิ้มปี ปวดแบบแสบๆหรือร้อนๆ ปวดเรื้อรังมานาน เป็นๆ หายๆ เป็นเดือนหรือเป็นปี
• ปวดสัมพันธ์กับอาหาร เช่น ปวดเวลาหิวหรือท้องว่างเมื่อกินอาหารหรือนม จะหายปวด บางรายจะปวดหลังจากกินอาหารหรือนมจะหายปวด บางรายจะปวดหลังจากกินอาหารหรือปวดกลางดึกก็ได้

2. จุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ เรอลม มีลมในท้อง ร้อนในท้อง คลื่นไส้อาเจียน

3. อาการโรคแทรกซ้อน ได้แก่
•  อาเจียนเป็นเลือดดำ หรือแดง หรือถ่ายดำ เนื่องจากมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้น
•  ปวดท้องรุนแรง และ ช๊อค เนื่องจากแผลกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กทะลุ
•  ปวดท้องและอาเจียนมาก เนื่องจากการอุดต้นของกระเพาะอาหาร
อาการอื่นที่พบได้
• น้ำหนักลด
• เบื่ออาหาร
• แน่นท้อง ท้องเฟ้อ
• คลื่นไส้ อาเจียน

........................................................

สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะ

สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะมีมากมายแต่เชื่อกันว่าสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากมีกรดในกระเพาะอาหารมาก และเยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอลง

1. เชื่อโรค Helicobacter pylori   เป็นเชื้อรูปแท่งติดสีน้ำเงิน มีความสามรถอยู่ในสภาวะกรดได้ดี
2.  สาเหตุที่กระเพาะอาหารมีกรดมากขึ้น เกิดขึ้นเนื่องจากสิ่งต่อไปนี้กระตุ้นให้กรดหลั่งมาก
• กระตุ้นของปลายประสาท เกิดจากความเครียด วิตกกังวลและอารมณ์
• การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบียร์ ยาดอง
• ชา กาแฟ และน้ำดื่มที่มี Caffeine จะทำให้กรดหลั่งออกมามาก
• การสูบบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่ทำให้เกิดการหลั่งกรดออกมามาก
•  การกินอาหารไม่เป็นเวลา
• ภาวะที่มีกรดหลั่งออกมามาก เช่นโรค Zollinger-Ellisson syndrome กรดที่หลั่งออกมามากจะทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
3.   มีการทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร เกิดจาก
•  การกินยาแก้ปวด ลดไข้ แก้ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อ ยาชุดที่มีแอสไพริน และยาสเตียรอยด์ ยาลูกกลอนต่างๆโดยเฉพาะสารที่ระคายกระเพาะ เช่น ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID แม้วว่าจะให้ยาโดยการฉีดหรืออมใต้ลิ้นก็มีโอกาสเกิดแผลที่กระเพาะ เนื่องจากนี้จะไปกระตุ้นให้เกิด cyclooxigenase II (Cox II) ซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบที่กระเพาะ
• การกินอาหารเผ็ดจัด และเปรี้ยวจัดจากน้ำสมสายชู
• การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบี้ย ยาดอง
* ประวัติเป็นโรคกระเพาะในครอบครัวหากครอบครัวไหนมีโรคกระเพาะ คนในครอบครัวนั้นก็จะมีโอกาสเกิดโรคกระสูง

..............................................