วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วิธีการย่อความ-วิวิธภาษา ม.2

วิธีการย่อความ
1. อ่านเรื่องที่ย่อให้ละเอียด แล้วจับใจความรวมของเรื่อง เช่น ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร เหตุใด และควรจัดลำดับเหตุการณ์หรือเวลาให้ชัดเจน

2. แยกข้อความที่อ่านในแต่ละย่อหน้า และจับใจความสำคัญของเรื่องให้ได้ว่า แต่ละย่อหน้าว่าด้วยเรื่องอะไร เขียนบันทึกสรุป และอ่านทวนทุกย่อหน้าจนครบ

3. ข้อความที่ย่อแล้ว ให้ใช้สรรพนามบุรุษที่ 3 ไม่ใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 และที่ 2 ถ้าจำเป็นต้องเอ่ยถึงผู้เกี่ยวข้องให้ใช้ชื่อโดยตรง

4. รายละเอียดบางประเด็น เช่น ตัวอย่าง ถ้อยคำฟุ่มเฟือย คำศัพท์ ทำให้เรื่องนั้นเยิ่นเย้อ ให้ตัดออกไปได้ แต่ถ้ามีรายละเอียดที่มีสาระสำคัญที่สนับสนุนใจความสำคัญ ให้นำมาพิจารณารวมไว้ในเนื้อหาของย่อความนั้นด้วย

5. ถ้าข้อความเดิมใช้คำราชาศัพท์ เมื่อย่อให้ใช้คำราชาศัพท์นั้น

6. ไม่ใช้เครื่องหมายอัญประกาศ และไม่ย่อความโดยใช้อักษรย่อหีอคำย่อ

7. หาถ้อยคำใหม่แทนกลุ่มคำบางกลุ่ม เพื่อให้ได้ความหมายเท่าเดิมแต่ลดคำลง เช่น พระรัตนตรัย แทน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นต้น

8. นำข้อความที่เป็นสาระสำคัญในแต่ละย่อหน้ามาเรียบเรียงด้วยภาษาของตนเองให้มีเนื้อความต่อเนื่องกัน

9. อ่านทบทวนแก้ไขให้เรื่องที่ย่อนั้นได้เนื้อความที่ต่อเนื่องกันดี เหมาะสม และคงสาระสำคัญอย่างครบถ้วน

.......................................................

การจับประเด็นสำคัญ-วิวิธภาษา ม.2

การจับประเด็นสำคัญ - ผู้อ่านจะต้องจับประเด็นสำคัญของเรื่องที่อ่านหรือฟังให้ครบถ้วน ซึ่งในบทความแต่ละเรื่อง จะประกอบด้วยย่อหน้าหลายย่อหน้า และในย่อหน้าต่างๆประกอบด้วยย่อหน้าหลายๆย่อหน้า แต่ละย่อหน้าก็มีหลายประโยค ซึ่งตามปกติ ย่อหน้าจะแบ่งเป็นทั้ง ใจความ และ พลความ

ใจความ - ประโยค หรือข้อความที่สำคัญของย่อหน้า ถ้าเราตัดออกไป จะเสียความ หรือเนื้อความเปลี่ยนไปทันที

ประโยคใจความสำคัญ อาจอยู่ต้นย่อหน้า กลางย่อหน้า ท้ายย่อหน้า หรืออยู่ทั้งตอนต้น หรือตอนท้ายของย่อหน้าก็ได้

พลความ - ประโยค หรือข้อความที่เป็นส่วนขยายความ ทำหน้าที่ขยายใจความให้แจ่มชัดยิ่งขึ้น หากตัดพลความออกไป ยังคงเข้าใจเนื้อความสำคัญอยู่ ข้อความที่ขยายใจความสำคัญ มีหลายลักษณะดังนี้

1. อธิบายให้รายะเอียด หรือให้คำจำกัดความ
2. แสดงตัวอย่างประกอบเพื่อให้เข้าใจได้เด่นชัดขึ้น
3. เปรียบเทียบด้วยถ้อยคำหรือสำนวน หรือยกเรื่องราวเป็นอุทาหรณ์ เพื่อให้เข้าใจใจความได้ดีขึ้น
4. ให้เหตุผลโดยยกข้อมูล สถิติ หลักฐาน เป็นต้น

..........................................................

ความหมายของการย่อความ-วิวิธภาษา ม.2

ความหมายของการย่อความ - การเก็บใจความของเรื่อง จากข้อความที่อ่านหรือฟงัง แล้วนำสาระสำคัญมาเรียบเรียงใหม่ ให้ได้ใจความที่ชัดเจน สั้น กระชับ และครบถ้วน

เช่น  การย่อเรื่องจากหนังสือทั้งเล่ม ให้เหลือเพียง 1-2 หน้าเท่านั้น หรือ การย่อบทความที่มีความยาว 5 หน้า เหลือเพียงครึ่งหน้า เป็นต้น

..........................................

โจทย์ เลขยกกำลัง 1

จงหาผลลัพธ์ในรูปเลขยกกำลัง

1.    4 5 × 5 0 × 47  
=  4 5+7 × 5 0
=  4 12 × 1
=   4 12
.......................................................
2.    2 3 × 4 -1
=  2 3 × 2 2+(-1)
=  2 3 × 2 1
=   2 3+1
= 2 4
.......................................................
 3.    3 -4 × 3 -2 × 81
=  3 -4 + (-2) × 3 3
=  3 -4-2+3
=  3 -3
=  1/3 3
.......................................................
4.    (-2) 4  × (-2) -2 × (-2)-2
=  (-2) 4 + (-2) + (-2)
=  (-2) 0
=  1
.......................................................

การคูณเลขยกกำลัง

เมื่อ a แทนจำนวนใดๆ m และ n แทนจำนวนเต็มบวก
a m  ×  a n   =   a m+n

ตัวอย่างเช่น
1. กำหนด m = 0 , n = 2
วิธีทำ
a m  ×  a n   =   a 0  ×  a 2
a 0  ×  a 2    =   1  ×  a 2  
=  a  
......................................
2. กำหนด m = -5 , n = 0

วิธีทำ
a m  ×  a n   =   a -5  ×  a 0
a -5  ×  a 0   =   (1/a 5 )  ×  1  
=  1 / a 5
=  a -5
......................................

วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สมบัติของเลขยกกำลัง

1.  1.    an  =  a x a x a x a x ………….x a
คูณกันไป  n ตัว
เมื่อ a แทนจำนวนใดๆ และ n แทนจำนวนเต็มบวก
An  เป็นเลขยกกำลัง ที่มี a เป็นฐาน  และ  n เป็นเลขชี้กำลัง

เช่น  245     =  24 × 24 × 24 × 24 × 24

2.  2.   a0   =  1  เมื่อ  a  แทนจำนวนใดใดที่ไม่ใช่ศูนย์
เช่น 
120   = 1, 4500  =  1

3.  3.   a-n  =  1 / an  เมื่อ a แทนจำนวนใดๆที่ไม่ใช่ศุนย์ และ n แทนจำนวนเต็มบวก
เช่น
5-3  =  1 / 5 3  
..............................................................

การคิดดอกเบี้ยทบต้น 1

สมหมายฝากเงินไว้กับธนาคาร 3,500 บาท เป็นเวลา 2 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2ต่อปี คิดดอกเบี้ยทบต้นทุก 12 เดือน และถูกหักภาษีดอกเบี้ย 15% เมื่อครบ 2 ปี สมหมายได้ดอกเบี้ยทั้งหมดประมาณเท่าไหร่

วิธีทำ
ธนาคาคิดดอกเบี้ย ดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี และหักภาษีดอกเบี้ย 15%
ถ้าได้ดอกเบี้ย 2 บาท ให้เสียภาษี x บาท
เขียนสัดส่วนได้ดังนี้ (x / 2)  =  (15 / 100)
จะได้  x * 100  =  15 * 2
x  =  (15 * 2) / 100
ดังนั้น x  =  0.30

จะได้ดอกเบี้ยหลักหักภาษีได้ร้อยละ 2 - 0.30  =  1.70  ต่อปี
ให้  A  เป็นดอกเบี้ยหลังหักภาษีแล้วเมื่อสิ้นปีที่หนึ่ง
ได้ดอกเบี้ยร้อยละ 1.70 ต่อปี
สมหมายฝากเงินไว้กับธนาคาร 3,500 บาท เป็นเวลา 2 ปี = (3,500 * 12)  =  42,000  บาท

เขียนสัดส่วนได้ดังนี้  (A / 42,000)  =  (1.70 / 100)
จะได้  A * 100  =  42,000 * 1.70
A  =  (42,000 * 1.70) / 100
ดังนั้น  A  =  714

นั้นคือ  เมื่อสิ้นปีที่หนึ่ง สมหมายได้รับดอกเบี้ย  714  บาท

ต้นปีที่สอง  สมหมายมีเงินฝาก 42,000 + 714  =  42,714  บาท
ให้  B  เป็นดอกเบี้ยหลังหักภาษีแล้วเมื่อสิ้นปีที่สอง


เขียนสัดส่วนได้ดังนี้  (B / 42714)  =  (1.70 / 100)
จะได้  B * 100  =  42,714 * 1.70
B  =  (42,714 * 1.70) / 100
B  =  726.14

ดังนั้น  เมื่อสิ้นปีที่สอง  สมหมายได้รับดอกเบี้ยหลังหักภาษีแล้วประมาณ  726.14  บาท
นั่นคือ  เมื่อครบ 2 ปี สมหมายได้รับดอกเบี้ยทั้งหมดประมาณ  714 + 726.14 = 1440.14 บาท

ตอบ  ประมาณ  1440.14 บาท

...............................................................


การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับร้อยละ

ตัวอย่างเช่น

ชายคนหนึ่งได้รับเงินเดือนเดือนละ 20,000 บาท เขาจะต้องผ่อนชำระค่าบ้านร้อยละ 40 ของเงินเดือน ชายผู้นี้ผ่อนชำระค่าบ้านเดือนละเท่าไร

วิธีทำ  ชายผู้นี้ผ่อนชำระค่าบ้านเดือนละ x บาท
ชายคนนี้ได้รับเงินเดือนเดือนละ  20,000 บาท

เขาจะต้องผ่อนชำระค่าบ้านคิดเป็น  40%  =  40 / 100
เขียนสัดส่วนได้ดังนี้ (x / 20,000)  =  (40 / 100)
จะได้  x * 100  =  40 * 20,000
ดังนั้น  x  =  8,000

นั่นคือ ชายผู้นี้ผ่อนชำระค่าบ้านเดือนละ 8,000 บาท
ตอบ  8,000 บาท
.......................................................

การคำนวนเกี่ยวกับร้อยละ

ตัวอย่างเช่น

25% ของ 60 เท่ากับเท่าไร
หมายความว่า ถ้ามี 25 ส่วนใน 100 ส่วน จะมีกี่ส่วน ใน 60 ส่วน

สมมุติให้มี x ส่วน ใน 60 ส่วน
เขียนสัดส่วนได้ดังนี้  (x / 60)  =  (25 / 100)
จะได้  x * 100  =  60 * 25
x  =  (60 * 25) / 100
ดังนั้น  x  =  15

นั่นคือ  25%  ของ  60  คือ  15

.................................................

ร้อยละ

การเขียนร้อยละ เราสามารถตีความหมายได้ว่า

"สมชาย ขายนาฬิกาเรือนหนึ่งได้กำไร  20%"
หมายความว่า
ถ้าสมชายซื้อนาฬิกามาในราคา 100 บาท สมชายจะขายนาฬิิกาเรือนนี้ได้ในราคา 120 บาท ทำให้ได้กำไร 20 บาท

อัตราส่วนกำไร ต่อ ราคาซื้อ เป็น 20 : 100 หรือ 20/100
ซึ่งเราสามารถเขียนเป็น ร้อยละ 20 หรือ 20%

...............................................