วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การแบ่งคำนามตามลักษณะการใช้

การแบ่งคำนามตามลักษณะการใช้ สามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มคือ

1. นามทั่วไป หรือ Common Noun
คิอคำที่ใช้เรียกสิ่งต่างๆทั่วไป ทั้งคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ เช่น man (ผู้ชาย), School (โรงเรียน)
2. นามเฉพาะ หรือ Proper Noun
คือคำนามเฉพะ เป็นชื่อเฉพาะ เช่น Somchai (สมชาย), Puket (ภูเก็ต)

3. นามวัตถุ  หรือ  Material Noun
คือคำนามที่เป็นชื่อวัตถุ แร่ธาตุ โลหะ สามารถแยกออกเป็น
-  แร่ธาตุ  เช่น  เหล็ก (Iron), เงิน (Silver), ทองแดง (Copper), ยูเรเนียม (Uranium)
-  สารธรรมชาติ ที่เป็นเนื้อเดียวกัน เช่น  ฝ้าย (Cotton), ทราย (Sand), โลหะ (Metal), ไนลอน (Nylon), ผ้า (Cloth), กระดาษ (Paper)
-  ของเหลวประเภทต่างๆ  เช่น  น้ำ (Water), หมึก (Ink), น้ำค้าง (Dew), ชา (Tea)
-  พืชและอาหาร  เช่น  น้ำตาลทราย (Sugar), ข้าว (Rice), แกง (Curry), เนื้อปลา (Fish)

4.  นามแสดงกลุ่ม Collective Noun
คือนามที่แสดงหมวดหมู่ กลุ่ม ฝูง ซึ่งอาจจะเป็นคน สัตว์ หรือสิ่งของก็ได้  เช่น
กลุ่มนักศึกษา - a group of students
ฝูงคน - a crowd of people
ฝูงปลา - a school of fish
ฝูงแกะ - a flock of sheep

5. นามไม่มีรูปร่าง หรืออาการนาม  Abstract Noun
คือคำนามที่เป็นชื่อของอาการ หรือสภาวะ ส่วนใหญ่จะขึ้นต้นว่า ความ หรือ การ เช่น
-  มาจาก กริยา (Verb) เช่น
Speak  - Speech การพูด
Imagine - Imagination การนึกฝัน

-  มาจากคำคุณศัพท์ (Adjective)
Happy  -  Happines ความสุข
True  -  Truth  ความจริง

-  มาจากคำนาม  (Noun)
Child  -  Childhood  วัยเด็ก
Slave  -  Slavery  ความเป็นทาส

...........................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น